Page 81 - kpiebook65010
P. 81
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ผลกระทบทางสังคมที่เป็นประเด็นหลักของรายงานการศึกษานี้ โดยคำถามทั้งสองข้อ ได้แก่
คำถามแรก ทางเลือกที่มีการระบุจะส่งผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
และใครจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบบ้าง และคำถามที่สอง จะมีการเปรียบเทียบทางเลือกเหล่านั้น
อย่างไร ซึ่งใน 2 หัวข้อถัดจากนี้ไปจะกล่าวถึงรายละเอียดแนวทางและวิธีการที่อยู่ในคำถาม
ทั้งสองข้อดังกล่าว โดยคำถามที่ 5 (คำถามแรกที่จะพิจารณา) เป็นเรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบ
ของทางเลือก และข้อที่ 6 (คำถามที่สองที่จะพิจารณา) เป็นเรื่องการเปรียบเทียบผลกระทบทาง
เลือก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ทั้งสองคำถามจะเป็นคำตอบสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบ
ทางสังคมที่มีการดำเนินการในปัจจุบันของ EU
3.4.1.1 การวิเคราะห์ผลกระทบของแต่ละทางเลือก (คำถามข้อที่ 5)
แม้ว่า EU Better Regulation Guidelines 2017 จะไม่ได้เจาะจงกล่าวถึง
99
การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมเนื่องจากแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบแต่ละด้านนั้นสามารถ
ใช้ร่วมกันได้ ดังนั้นในส่วนของคำถามข้อ 5 ซึ่งเป็นประเด็นการพิจารณาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อมจากทางเลือกที่จะมีการดำเนินการเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบทาง
100
สังคมโดยตรง จึงจะนำมากล่าวให้เห็นข้อพิจารณาบางประการที่สำคัญ ดังสรุปได้ ดังนี้
สำหรับการประเมินผลกระทบแต่ละด้านนั้นมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ผู้จัดทำ
นโยบายทราบว่าทางเลือกทั้งหลายสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด รวมทั้งเพื่อให้
ทราบถึงต้นทุน ผลประโยชน์ ผลกระทบที่อาจเกิดต่อผู้มีส่วนได้เสียและเพื่อให้ทราบว่ามีความเสี่ยง
ที่อาจเกิดโดยไม่ตั้งใจ (risk of unintended consequences) หรือไม่อย่างไร
เพื่อให้ได้ทางเลือกทางนโยบายที่สะท้อนให้เห็นต้นทุนและผลประโยชน์
การทำ RIA จะต้องประเมินข้อดีและข้อเสียของทางเลือกแต่ละทางเมื่อเทียบกับสภาพการณ์
เรื่องนั้นในปัจจุบัน โดยอาจเป็นการดำเนินการอย่างซ้ำ ๆ โดยประมวลผลกระทบโดยรวมที่เป็นไปได้
จากนั้นก็จะเป็นการวิเคราะห์เจาะลึกเพื่อประเมินผลกระทบที่สำคัญให้ละเอียดมากขึ้น (in-dept
analysis) อย่างไรก็ตาม หากมีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์เพิ่มเติมก็ต้องพร้อมที่จะย้อนกลับไป
ดำเนินการวิเคราะห์ทางเลือกที่ได้เลือกไว้อีกครั้ง โดยควรมีการใช้คำแนะนำหรือองค์ความรู้ที่ได้รับ
จากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้เสียเพื่อประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบของทางเลือกด้วย โดยมี
ข้อพิจารณาย่อยเสริม ดังนี้
99 European Commission, ‘Better Regulation Guidelines’ (n 36).
100 ibid 23-28.
สถาบันพระปกเกล้า
69