Page 80 - kpiebook65010
P. 80
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ขั้นตอนที่ 7 การกำหนดทางเลือกที่เลือกดำเนินการ (identification of preferred
solution) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเหตุผลสนับสนุนว่าทางเลือกที่เลือกดำเนินการ
(ร่างกฎหมายหรือนโยบาย) มีความเหมาะสมจำเป็นกว่าทางเลือกอื่น ๆ ที่พิจารณาหรือไม่ อย่างไร
ขั้นตอนที่ 8 การกำหนดกรอบดำเนินการเพื่อติดตามและประเมินผล (setting out
monitoring and evaluation framework) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายมาตรการทาง
นโยบายหรือกฎหมายที่เลือกนั้นจะได้รับการประเมินประสิทธิภาพอย่างไร รวมทั้งมีการนำเสนอ
ข้อมูลจำเป็นที่อาจจะต้องใช้ในขั้นตอนนี้
มีข้อสังเกตว่ากระบวนการทำ RIA ที่ได้กล่าวไปนั้นอาจมีการทำซ้ำหรือย้อนกลับไป
ทำใหม่ได้หากมีข้อมูลที่ได้จากการทำในขั้นตอนหลังอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการใน
ขั้นตอนก่อนหน้า ก็อาจจะมีการดำเนินการในขั้นตอนก่อนใหม่ได้ นอกจากนี้จะเห็นว่าขั้นตอน
98
ที่มีการแนะนำดังกล่าวนั้นไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าการประเมินผลกระทบทางสังคมจะเกิดขึ้น
ในขั้นตอนใด แต่อาจอนุมานได้ว่าผลกระทบ (impact) คือ ผลประโยชน์ (benefits) และต้นทุน
(costs) ที่อาจเกิดขึ้นจากข้อเสนอทางกฎหมายหรือนโยบาย ดังนั้น อาจอนุมานได้ว่าเป็นส่วนหนึ่ง
ของการดำเนินการขั้นตอนที่ 6
3.4 แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม
เมื่อพิจารณาภาพรวมของกระบวนการทำ RIA ตามที่กล่าวไปในหัวข้อก่อนซึ่งเป็นการนำเสนอ
RIA ทั้งกระบวนการแล้ว ในหัวข้อนี้จะนำเสนอแนวทางการประเมินผลกระทบที่เป็นส่วนหนึ่งของ
การทำ RIA ซึ่งหากพิจารณาจากแนวทางดำเนินการของ EU Commission และ OECD แล้วจะ
พบว่าไม่ได้มีการกำหนดแนวทางการวิเคราะห์กระทบทางสังคมเป็นการเฉพาะเจาะจง หากแต่
กล่าวถึงแนวทางการวิเคราะห์ในลักษณะรวม ๆ กันไป แต่ก็สามารถนำมาอธิบายในฐานะแนวทาง
การประเมินผลกระทบทางสังคมได้เช่นกัน โดยมีรายละเอียดการดำเนินการที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
3.4.1 แนวทางของ EU Commission
ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ 3.3.1.2 ว่า EU Better Regulation Guidelines ได้กำหนด
คำถามหลักที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำ RIA 7 ข้อ ซึ่งจะใช้เป็นข้อพิจารณาในการจัดทำ
RIA โดยข้อ 5 และข้อ 6 เป็นคำถามที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพิจารณาแนวทางการประเมิน
ibid.
98
สถาบันพระปกเกล้า
68