Page 76 - kpiebook65010
P. 76
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
4. ผู้มีส่วนได้เสียให้ความเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบเบื้องต้น เช่น
ความเห็นเกี่ยวกับปัญหา ทางเลือกทางนโยบายและข้อเสนอแนะอื่น ๆ
ซึ่งผู้จัดทำ RIA จะต้องนำไปพิจารณาประกอบสำหรับทำ RIA
5. ผู้จัดทำ RIA ทำการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลและความเห็นของ
ผู้มีส่วนได้เสีย
6. จัดทำรายงาน RIA
7. นำเสนอรายงานให้คณะกรรมการกลั่นกรองรายงาน (Regulatory
Scrutiny Board: RSB) พิจารณารายงานและให้ความเห็น โดย RSB อาจ
พิจารณาคุณภาพของรายงาน รวมทั้งความเห็นที่มีการกล่าวถึงในรายงาน
8. ผู้จัดทำ RIA แก้ไขปรับปรุงรายงานตามคำแนะนำของ RSB หรือหากได้รับ
ความเห็นในเชิงยอมรับรายงาน (positive opinion) ดำเนินการขั้นตอน
ต่อไป
9. เมื่อรายงานได้รับความเห็นเป็นที่เรียบร้อย นำเสนอรายงานพร้อมกับ
ร่างกฎหมายหรือนโยบายเพื่อจัดรับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการ
ขั้นตอนเสนอกฎหมายต่อไป โดยให้มีบทสรุป (executive summary)
ของรายงาน 2 หน้า แนบไปพร้อมกับร่างกฎหมายด้วย
3.3.1.2 องค์ประกอบเชิงเนื้อหา (substantive elements) ของ RIA
การทำ RIA เป็นการวิเคราะห์ในขั้นตอนก่อนการเสนอกฎหมายหรือนโยบาย
ซึ่งหลักการที่ควรดำเนินการคือต้องเริ่มทำ RIA ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในขั้นการร่างข้อเสนอ
กฎหมายหรือนโยบาย โดยสาระสำคัญที่ควรกำหนดเป็นประเด็นสำหรับทำ RIA อาจทำในรูปของ
95
การกำหนดคำถาม 7 ข้อ ได้แก่ คำถามในแผนภาพต่อไปนี้
95 ibid 17.
สถาบันพระปกเกล้า
64