Page 78 - kpiebook65010
P. 78
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
เพียงใดในการตรวจสอบปัญหาและวิเคราะห์ทางเลือก เป็นต้น รวมทั้งอาจพิจารณาว่าจะต้อง
วิเคราะห์ในขั้นตอนดำเนินการต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด โดยให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการส่วน
นโยบาย (Directorate-Generals) ของ European Commission แต่ละด้านร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
เป็นผู้พิจารณาระดับของการวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์อย่างได้สัดส่วนอาจต้องทำซ้ำ ๆ ในหลาย
ขั้นตอนของการทำ RIA โดยตัวอย่างปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาขอบเขตและความลึกของ
การวิเคราะห์ออกเป็น ข้อพิจารณาทั่วไปและข้อพิจารณาเกี่ยวกับลักษณะของเครื่องมือ (nature
of policy instrument) ดังปรากฏในตารางสรุปนี้
ข้อพิจารณาทั่วไป ข้อพิจารณาเกี่ยวกับลักษณะของเครื่องมือ
๏ ความสำคัญในด้านการเมืองของข้อเสนอกฎหมายและ กรณีของของเสนอทางกฎหมาย ควรให้ความสำคัญกับประเด็น
นโยบายที่อยู่ภายใต้การพิจารณา (political importance ต่าง ๆ เช่น
of initiative under consideration) ๏ การอธิบายรายละเอียดของปัญหา ความท้าทายและเกี่ยวกับ
๏ ความพร้อมและพัฒนาการของนโยบายเรื่องนั้น (stage of ความเป็นไปได้ที่ปัญหาและความท้าทายนั้นจะทวี
policy development) ความรุนแรงมากขึ้น
๏ ความรุนแรงและความซับซ้อนของปัญหาที่จะต้องแก้ไข ๏ การวิเคราะห์รายละเอียดเสริมว่าเหตุใดจึงต้องมี
(magnitude and complexity of problem being การดำเนินการเรื่องนั้นโดย EU
addressed) ๏ การอธิบายวัตถุประสงค์โดยทั่วไปและวัตถุประสงค์โดย
๏ นัยสำคัญของผลกระทบที่คาดว่าจะเกิด (จากการใช้ทางเลือก เฉพาะของข้อเสนอกฎหมาย
ทางนโยบาย) (significance of expected impacts) ๏ การระบุทางเลือกและอธิบายข้อจำกัดของทางเลือกรวมทั้ง
๏ ความเสี่ยงต่อผลที่ไม่อาจคาดหมายได้ (risk of negative ความแตกต่างของระดับการนำทางเลือกไปดำเนินการ
unexpected consequences) ระดับของความต้องการทางเลือก การมีลำดับความสำคัญ
ของทางเลือก
๏ หากผลกระทบด้านใดมีความสำคัญมากที่สุด ควรวิเคราะห์
ผลกระทบด้านนั้นให้ละเอียดและควรใช้การวิเคราะห์
เชิงปริมาณ
๏ ระบุผู้มีส่วนได้เสียให้ชัดเจน รวมทั้งระบุต้นทุนและ
ผลประโยชน์ในการออกมาตรการควบคุม
ในการศึกษาในบทต่อไปจะเห็นว่าหลายประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางกฎหมาย
จากระบบกฎหมาย EU ได้นำเอาหลักการวิเคราะห์อย่างได้สัดส่วนไปบัญญัติไว้ให้เป็นข้อคำนึง
สำคัญในการทำ RIA ซึ่งน่าคิดเช่นกันว่าการทำ RIA ในประเทศไทยก็ควรมีการพิจารณา
ข้อพิจารณาส่วนนี้ด้วยเช่นกันหรือไม่ เพราะในท้ายที่สุดหลักการนี้ช่วยให้การใช้ทรัพยากรที่ลงทุน
ไปในการทำ RIA ของร่างกฎหมายแต่ละฉบับก็ควรสัมพันธ์อย่างได้สัดส่วนกับความสำคัญและ
ผลกระทบที่จะเกิดในทางนโยบาย กฎหมายและด้านอื่น ๆ จากร่างกฎหมายฉบับนั้น โดยหาก
ปราศจากเสียซึ่งหลักการนี้อาจทำให้ไม่มีคำตอบอย่างชัดเจนว่ารายงาน RIA ในร่างกฎหมายฉบับใด
มีรายละเอียดน้อยหรือมากไป ประเด็นนี้จะได้กล่าวถึงอีกครั้งในส่วนวิเคราะห์แนวทางการพัฒนา
ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบในประเทศไทยจากการศึกษาประสบการณ์ต่างประเทศในบทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า
66