Page 79 - kpiebook65010
P. 79
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
3.3.2 แนวทางของกลุ่มประเทศ OECD
ในรายงานเรื่อง Regulatory Impact Assessment, OECD Best Practice Principles
for Regulatory Policy (2020) ได้มีการเสนอแนะแนวทางการทำ RIA โดยจำแนกขั้นตอน
การประเมินออกเป็น 8 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย 97
ขั้นตอนที่ 1 การปรึกษาหารือและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (consultations
and stakeholder engagement) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการเปิดรับข้อมูลจากบรรดาบุคคล
ผู้มีส่วนได้เสียรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดปัญหา (problem definition) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการ
ประเมินลักษณะ (nature) และระดับ (extent) ของปัญหาที่จะต้องมีการใช้ข้อเสนอทางนโยบาย
นั้นดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดวัตถุประสงค์ (objective) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนด
วัตถุประสงค์ของนโยบายและเป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบาย
ขั้นตอนที่ 4 การอธิบายข้อเสนอเชิงนโยบาย (description of regulatory
proposal) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายกฎหมายหรือนโยบายที่ใช้บังคับอยู่ ร่างข้อเสนอใหม่
ระบุองค์กรและหน่วยงานทางปกครอง (administrative body and institution) ที่รับผิดชอบ
ร่างข้อเสนอทางนโยบายนั้นและทำหน้าที่ดำเนินการและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือ
นโยบาย โดยมีการระบุกลไกการบังคับการ (enforcement regime) และยุทธศาสตร์ที่จะใช้เพื่อ
สร้างหลักประกันการปฏิบัติตาม
ขั้นตอนที่ 5 การระบุทางเลือก (identification of alternatives) ในขั้นตอนนี้
จะเป็นการแจกแจงทางเลือกดำเนินการแก้ปัญหา ทั้งทางเลือกที่เป็นการวางมาตรการควบคุม
แบบบังคับและแบบไม่บังคับ (non-regulatory approach) ที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาที่มีการระบุ
(ในขั้นตอนที่ 2)
ขั้นตอนที่ 6 การวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุน (analysis of benefit and
costs) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการระบุผลประโยชน์และต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดจากทางเลือกทั้งหลาย
ที่มีการกำหนดในขั้นตอนที่ 5
97 OECD, Regulatory Impact Assessment, OECD Best Practice Principles for Regulatory Policy
(OECD Publishing 2020) 16.
สถาบันพระปกเกล้า
67