Page 82 - kpiebook65010
P. 82
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ขั้นตอนที่ 1 การระบุผลกระทบที่น่าจะเกิดจากทางเลือกต่าง ๆ
การวิเคราะห์ผลกระทบควรระบุให้ชัดเจนว่าทางเลือกเหล่านั้นจะสามารถ
แก้ปัญหา (อันเป็นที่มาของการเสนอทางเลือก) และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์อย่างไร โดยมี
ความจำเป็นต้องระบุว่าข้อเสนอทางนโยบายแต่ละทางเลือกจะสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อบุคคล
ที่ได้รับผลกระทบอย่างไร โดยมีตัวอย่างคำถามสำคัญที่อาจตั้งเพื่อทำการวิเคราะห์ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้
๏ บุคคลใดมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือนโยบายที่จะกำหนดขึ้น บุคคลใด
เป็นผู้มีอำนาจใช้บังคับกฎหมาย และบุคคลใดจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์
ทางการเงิน
๏ การกระทำหรือมาตรการใดจะมีผลให้บุคคลต้องปฏิบัติเรื่องใด
๏ บรรดามาตรการทั้งหลายมีสามารถนำไปปฏิบัติได้ในทางความเป็นจริง
หรือไม่ โดยพิจารณาจากคำถามย่อย เช่น สภาพบังคับของการไม่ปฏิบัติ
ตามที่กำหนดขึ้นจะทำให้เกิดต้นทุนที่สูงเกินไปและเป็นอุปสรรคทางธุรกิจ
หรือไม่ เป็นต้น
๏ ทางเลือกนี้จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเสนอใช้มาตรการหรือไม่
ในขั้นตอนการการระบุผลกระทบที่น่าจะเกิดจากทางเลือกต่าง ๆ นี้ ควรมี
การพิจารณาบรรดาผลกระทบทุกด้านที่สำคัญโดยยังไม่จำเป็นต้องคำนึงว่าจะสามารถวิเคราะห์
ผลกระทบนั้นโดยละเอียดได้หรือไม่ เพราะหากไม่มีการพิจารณาและประเมินผลกระทบหลัก
เหล่านั้นก็อาจส่งผลกระทบต่อการเปรียบเทียบทางเลือกในภาพรวมและอาจทำให้ข้อเสนอดังกล่าว
มีจุดอ่อนที่อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ในภายหลังได้ นอกจากนี้ ควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบของ
ทางเลือกต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน (fundamental right) ด้วยหากมี
ความเกี่ยวข้อง
ในขณะเดียวกัน หากมีผลกระทบทางอ้อม (indirect impact) เกิดขึ้นก็ควรมี
การประเมินผลกระทบประเภทนี้ด้วย ซึ่งอาจเป็นผลกระทบด้านบวกหรือด้านลบที่เกิดขึ้นโดย
บังเอิญจากการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอทางนโยบาย เช่น ต้นทุน
สะสม (accumulated costs) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องแบกรับ หรือความกดดันที่อาจเกิดขึ้นจาก
ผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือนโยบายนั้น รวมทั้งผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจและ
มีผู้ได้รับประโยชน์จากผลกระทบเชิงบวกนั้น (positive spill-over)
สถาบันพระปกเกล้า
70