Page 77 - kpiebook65010
P. 77
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
7
5
2 4 6
1 3 จะมีการ
เหตุใด มีทางเลือกใดบ้าง ทางเลือก มีการ ออกแบบ
ปัญหาคืออะไร การดำเนินการ การดำเนินการนี้ ที่สามารถ เหล่านั้นจะส่ง เปรียบเทียบ การประเมิน
และเหตุใด เรื่องนี้จึงต้องมี ดำเนินการ ผลกระทบ ทางเลือก ผลกระทบ
ประเด็นนั้น การดำเนินการ มุ่งที่จะบรรลุ ให้บรรลุเป้าหมาย อย่างไรบ้าง เหล่านั้น ย้อนหลังและ
จึงเป็นปัญหา โดยสหภาพยุโรป เป้าหมายใด นี้ได้ และใครจะได้รับ อย่างไร การติดตาม
ผลกระทบบ้าง
ตรวจสอบอย่างไร
ภาพ 5 คำถาม 7 ข้อสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบตามแนวทาง EU
หากพิจารณาคำถาม 7 ข้อนี้ จะพบว่าการหาคำตอบในข้อที่ 5 และ 6 เป็นคำตอบ
ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิเคราะห์ผลกระทบ ซึ่งจะได้กล่าวถึงการดำเนินการในรายละเอียด
อีกครั้งในหัวข้อ 3.4.1
3.3.1.3 สาระสำคัญของหลักการวิเคราะห์ผลกระทบอย่างได้สัดส่วน
ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นของหัวข้อ 3.3.1 แล้วว่า เอกลักษณ์สำคัญของ
การวิเคราะห์ RIA ตามแนวทางดำเนินการของ European Commission คือการกำหนดให้ทำ
RIA โดยพิจารณาถึงหลักความได้สัดส่วน (proportionate principle) ซึ่ง EU ได้กำหนดเอกสาร
กล่องเครื่องมือ (toolbox) ประกอบการพิจารณา Better Regulation Guidelines โดยนำเสนอ
สาระสำคัญและแนวทางการวิเคราะห์บนฐานของหลักดังกล่าว จึงควรนำมากล่าวให้เห็นสาระ
สำคัญของการวิเคราะห์ผลกระทบโดยอาศัยหลักนี้พอสังเขป
96
หลักการวิเคราะห์อย่างได้สัดส่วนกำหนดให้ขอบเขต (scope) และความลึก
(depth) ของการวิเคราะห์จะต้องได้สัดส่วนและสอดคล้องกับระดับความสำคัญและประเภทของ
ข้อเสนอทางกฎหมายและนโยบายที่จะทำการวิเคราะห์ รวมทั้งสอดคล้องกับระดับความสำคัญของ
ผลกระทบด้วย โดยการคำนึงถึงหลักความได้สัดส่วนนี้ต้องดำเนินการตลอดทุกขั้นตอนของการทำ
RIA
สำหรับการพิจารณาขอบเขตและความลึกของการวิเคราะห์นั้นอาจคำนึง
จากปัจจัยด้านทรัพยากรและเวลาที่ใช้ทั้งกระบวนการทำ RIA ความพยายามที่ต้องลงมือลงแรง
ในการหาคำตอบสำหรับคำถามหลัก (7 ข้อ) เช่น จะต้องใช้ความพยายามและทรัพยากรมากน้อย
96
รายละเอียดดู European Commission, ‘Better Regulation Toolbox’ (n 34) 77-80.
สถาบันพระปกเกล้า
65