Page 87 - kpiebook65010
P. 87

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                   ประเภทของผลกระทบ                    คำถามที่สำคัญ (key questions)

               ด้านวัฒนธรรม           ๏ ทางเลือกนี้ส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมหรือไม่
                                      ๏ ทางเลือกนี้มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือไม่
                                      ๏ ทางเลือกนี้มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการแสดงออกทาง
                                        วัฒนธรรมหรือการเข้าถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรมหรือไม่
               ด้านผลกระทบต่อประเทศอื่น     ๏ ทางเลือกนี้มีผลกระทบในทางสังคมต่อประเทศกำลังพัฒนาหรือต่อประเทศอื่นหรือไม่
               นอกกลุ่ม EU            ๏ ทางเลือกนี้ส่งผลกระทบต่อพันธกรณีในทางระหว่างประเทศหรือไม่

                            ขั้นตอนที่ 2 การระบุผลกระทบที่น่าจะเกิดจากทางเลือกต่าง ๆ (select
               significant impacts)


                            นอกเหนือจากการระบุผลกระทบที่น่าจะเกิดจากทางเลือกต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไป
               ในขั้นตอนที่ 1 แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเลือกผลกระทบที่สำคัญเพื่อทำการวิเคราะห์
               ผลกระทบประเภทนี้ให้ลึกในรายละเอียด โดยอย่างน้อยควรพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ เช่น ระดับ

               หรือขนาดของผลกระทบในภาพรวม ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบธุรกิจประเภท
               SMEs หุ้นส่วนทางการค้า (trading partner) ภาคเศรษฐกิจ (economic sectors) ผู้บริโภค

               ผู้เรียน ผู้ใช้แรงงาน หน่วยงานของรัฐ เป็นต้น โดยการวิเคราะห์ผลกระทบควรดำเนินการ
               โดยเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของประเด็นหรือข้อมูลที่จะทำการวิเคราะห์ผลกระทบนั้น และ
               การเลือกว่าผลกระทบใดเป็นผลกระทบที่สำคัญนั้นควรพิจารณาจากหลักการวิเคราะห์อย่างได้
               สัดส่วน (principle of proportionate analysis) ซึ่งเรียกร้องให้มีการใช้เครื่องมือและทรัพยากร

               สำหรับทำ RIA อย่างเหมาะสมและได้สัดส่วนกับระดับหรือขนาดของผลกระทบแต่ละเรื่องที่ต้อง
               พิจารณา  โดยทางเลือกที่จะพิจารณาจะต้องคำนึงถึงความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญด้วย
                      102
                            ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลกระทบที่ส่งผลกระทบมากที่สุด (assess

               most significant impacts)

                            โดยหลักการแล้ว ควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบทั้งในเชิงปริมาณและ

                                                      103
               เชิงคุณภาพทุกผลกระทบ โดยหากเป็นไปได้  ก็ควรมีการวิเคราะห์ที่มีการตีค่าเป็นตัวเลข
                    102   รายละเอียดคำอธิบายเกี่ยวกับการใช้หลักการนี้ ดู OECD, Regulatory Impact Analysis: A Tool for
               Policy Coherence (OECD Publishing 2009) 117; OECD, OECD (n 20) 74.
                        รายละเอียดดูหัวข้อ 3.3.1.3 ที่กล่าวถึงไปแล้ว
                    103   ตัวอย่างหลักที่ใช้พิจารณาว่าจะสามารถวิเคราะห์ในเชิงปริมาณได้ก็เช่น เมื่อปรากฏว่าผลกระทบนั้น
               น่าจะต้องการผลสรุปที่ชัดเจนและประเมินเป็นตัวเลขได้ง่ายและมีเครื่องมือวิเคราะห์ในเชิงปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้

               มีข้อมูลที่ต้องการใช้ประกอบการวิเคราะห์อยู่พร้อมที่จะลงไปเก็บข้อมูลนั้นมาโดยไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เกินสมควร
               (proportionate cost)
                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     75
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92