Page 91 - kpiebook65010
P. 91
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
1) ทางเลือกเช่นว่านั้นบรรลุผลแต่เกินความจำเป็นหรือไม่
2) ขอบเขตการดำเนินการตามทางเลือกเช่นว่านั้นสามารถดำเนินการได้ใน
แต่ละประเทศสมาชิก (ของ EU) หรือไม่ และเกินจำเป็นหรือไม่
3) ทางเลือกนั้นสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายหรือไม่เพียงใด (พิจารณาจาก
ระดับของการที่จะต้องบังคับใช้)
นอกจากนี้แล้ว ในขั้นตอนของการเปรียบเทียบควรต้องคำนึงด้วยว่าวิธีการ
เปรียบเทียบนั้นมีจุดอ่อนหรือข้อจำกัดหรือไม่อย่างไร ทางเลือกที่เลือกสอดคล้องหรือแตกต่างจาก
สมมติฐานหรือไม่
ในการนำเสนอการเปรียบเทียบทางเลือกในรายงาน RIA นั้นควรนำเสนอ
ในลักษณะที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เช่น อาจนำเสนอในรูปแบบตารางที่มีการนำเสนออย่างเป็นขั้น
เป็นตอน เป็นต้น และในกรณีที่การวิเคราะห์ได้ข้อสรุปว่าไม่มีทางเลือกใดที่เหมาะสมที่สุดก็ควร
ระบุในรายงาน RIA ให้ชัดเจนโดยไม่ควรอาศัยเหตุว่าไม่มีทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดมาเป็นเหตุ
ในการไม่เผยแพร่รายงาน RIA
3.4.2 แนวทางของกลุ่มประเทศ OECD
การดำเนินการตามแนวทางของกลุ่มประเทศ OECD ได้ให้ความสำคัญกับการทำ RIA
โดยมีการกำหนดหลักการเป็นคำแนะนำการบริหารจัดการด้านนโยบายและกฎระเบียบ
(Recommendation of the Council on Regulatory Policy and Governance) โดยหลักการ
สำคัญรวมไปถึงการกำหนดให้ต้องมีการทำ RIA โดยหลักการที่ 4 ของคำแนะนำดังกล่าวแนะนำให้
มีการทำ RIA ในช่วงเริ่มต้นของการจัดทำข้อเสนอกฎหมายหรือนโยบายใหม่ (new regulatory
proposal) โดยให้มีการกำหนดเป้าหมายของนโยบายหรือกฎหมายให้ชัดเจนและหากเป็น
การจำเป็นก็ให้มีการประเมิน (evaluate) ข้อเสนอของนโยบายหรือกฎหมายว่าจะดำเนินการ
อย่างไรให้เกิดการบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพหรือเกิดประสิทธิผล นอกจากนี้ในการทำ RIA
ควรมีการพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ด้วย โดยนำเสนอข้อดีข้อเสียของทางเลือกในการดำเนินการ
ส่วนต่าง ๆ ด้วยเพื่อให้ได้ทางเลือกการดำเนินการที่ดีที่สุด 106
ในกรณีที่ร่างกฎหมายจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ การประเมินผลกระทบล่วงหน้า
ในด้านต้นทุน (cost) ผลประโยชน์ (benefit) และความเสี่ยง (risk) ควรจะต้องมีการดำเนินการ
ในลักษณะที่วัดได้ (quantifiable) โดยต้นทุนในการออกกฎหมายอาจรวมถึงต้นทุนโดยตรง เช่น
106
OECD, ‘Recommendation’ (n 12) 10.
สถาบันพระปกเกล้า
79