Page 90 - kpiebook65010
P. 90
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
3.4.1.2 การเปรียบเทียบทางเลือก (คำถามข้อที่ 6)
หลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์ผลกระทบและระบุว่าใครเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ
ซึ่งเป็นการตอบคำถามข้อที่ 5 แล้ว ในขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเปรียบเทียบทางเลือกว่าทางเลือกใด
ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยพิจารณาจากปัจจัยเรื่องความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
และความสอดคล้องของทางเลือกกับกฎหมายหลัก โดยพิจารณาหลักความได้สัดส่วนประกอบ
การตัดสินใจ ซึ่งคำแนะนำที่สำคัญ ๆ ใน Better Regulation Guidelines 2017 สามารถสรุปได้
ดังนี้ 104
การเปรียบเทียบทางเลือกเป็นกระบวนการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูล
ให้แก่ผู้จัดทำนโยบายหรือกฎหมายให้สามารถเห็นว่าแต่ละทางเลือกที่มีนั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจโดยอาจนำเสนอทางเลือกที่คิดว่าน่าจะเหมาะสมที่สุด (preferred
option) โดยเทคนิคที่ใช้ในการเปรียบเทียบทางเลือกมีหลายอย่าง การวิเคราะห์แบบ cost-benefit
analysis (CBA) การวิเคราะห์แบบ cost-effectiveness analysis (CEA) และการวิเคราะห์แบบ
multi-criteria analysis เป็นต้น 105
การเปรียบเทียบทางเลือกซึ่งเป็นขั้นตอนต่อจากการวิเคราะห์ผลกระทบของ
แต่ละทางเลือกนั้นอาจทำได้โดยการสรุปผลกระทบแต่ละด้านและผู้ที่อาจได้รับผลกระทบโดย
เปรียบเทียบผลกระทบของทางเลือกแต่ละด้านให้ชัดเจน โดยตัวอย่างของส่วนที่ควรนำเสนอให้
ชัดเจนอาจได้แก่ประเด็นต่อไปนี้
๏ การนำเสนอว่าทางเลือกใดที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยกว่ากัน
อย่างไร (เปรียบเทียบประสิทธิผล (effectiveness))
๏ ผลประโยชน์เมื่อเทียบกับต้นทุน (เปรียบเทียบประสิทธิภาพ (efficiency))
๏ ความสอดคล้องและความต่อเนื่องระหว่างทางเลือกต่าง ๆ กับกฎหมาย
หรือนโยบายหลักของประเทศ
๏ ความสอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วนในการทำ RIA โดยต้องอธิบายว่า
ทางเลือกที่เหมาะสม (preferred option) นั้นตอบคำถามต่อไปนี้ได้ดีมาก
น้อยเพียงใด
104 European Commission, ‘Better Regulation Guidelines’ (n 36) 28-30.
105 รายละเอียดวิธีการวิเคราะห์แบบต่าง ๆ ดูคำอธิบายในหัวข้อถัดไป
สถาบันพระปกเกล้า
78