Page 89 - kpiebook65010
P. 89
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
๏ ควรวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาของการใช้ข้อเสนอ
เชิงนโยบายโดยเทียบกับสถานการณ์ในช่วงที่ยังไม่มีการใช้นโยบายนั้น
(baseline scenario) รวมทั้งอาจวิเคราะห์ว่าหากไม่มีการใช้ข้อเสนอทาง
กฎหมายที่กำลังพิจารณาอยู่ ผลจะเป็นอย่างไร
๏ ควรคำนึงว่าผลกระทบแต่ละประเภทอาจเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา
ที่แตกต่างกัน และในช่วงต้นของผลกระทบแต่ละประเภทอาจก่อให้
เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายมากแต่ส่งผลที่เป็นประโยชน์ในภายหลัง ดังนั้น
ในการวิเคราะห์ควรคำนึงถึงปัจจัยนี้ด้วย
๏ การวิเคราะห์ผลกระทบนั้นควรพิจารณาจากมุมมองของสังคมในภาพรวม
แต่ก็ให้คำนึงด้วยว่าผลกระทบหรือภาระในบางที่เกิดกับบุคคลบางกลุ่ม
ก็ต้องมีการวิเคราะห์ด้วย
ในขั้นสุดท้ายของการวิเคราะห์ ควรได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าทางเลือกใด
ที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้และทางเลือกนั้นก่อให้เกิดผลประโยชน์และต้นทุนใด และใครจะเป็น
ผู้ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ผลกระทบด้านใดที่อาจส่งผลกระทบมากอย่างชัดเจน เช่น ผลกระทบ
ต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน ผลกระทบต่อ SMEs ผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน หรือต่อสุขภาพ
และความปลอดภัยของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น ก็ควรต้องระบุให้ชัดพร้อมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยง
และผลกระทบที่ไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้นด้วย
ผลการวิเคราะห์ RIA ที่นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบควรนำเสนอให้
ผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเข้าใจได้ง่าย มีความชัดเจนในเนื้อหาและมีความโปร่งใสในส่วนที่เกี่ยวกับ
ข้อจำกัดของข้อมูลและวิธีการที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์และความเสี่ยงต่อผลที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด
นอกจากนี้ ควรมีการให้ข้อมูลผลกระทบต่อบุคคลหรือองค์กรหรือหน่วยงานรัฐให้ชัดเจน และ
หากเป็นไปได้ก็ควรมีการระบบกลุ่มทางสังคมหรือพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบให้ชัดเจนโดยควร
นำเสนอในตอนต้นของการวิเคราะห์ด้วย นอกจากนี้ ควรจำแนกแยกแยะให้ชัดเจนว่าข้อมูลส่วนใด
เป็นผลประโยชน์และต้นทุนที่เป็นผลรวม (aggregated costs and benefits) และส่วนใดที่เป็น
ผลกระทบแต่ละด้าน โดยระบบทางเลือกและวิธีการวิเคราะห์ให้ชัดเจน นอกจากนี้ควรมีการให้
ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนรวมทั้งกำหนดสมมติฐานที่สำคัญของการวัดหรือ
ตีมูลค่าในด้านต่าง ๆ ด้วย
สถาบันพระปกเกล้า
77