Page 92 - kpiebook65010
P. 92
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ต้นทุนในด้านการบริหาร ด้านการเงิน เป็นต้น รวมไปถึงต้นทุนทางอ้อม เช่น ต้นทุนค่าเสียโอกาส
เป็นต้น โดยพิจารณาว่าใคร ในระหว่างภาคธุรกิจ ประชาชน หรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้แบกรับ
ต้นทุนเหล่านั้น นอกจากนี้ การประเมินผลกระทบล่วงหน้าควรที่จะมีการอธิบายเชิงพรรณนาถึง
บรรดาผลกระทบต่าง ๆ ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เช่น ในด้านความเท่าเทียม ความเป็นธรรม
รวมไปถึงการกระจายผลกระทบไปยังกลุ่มต่าง ๆ
107
ในขั้นตอนการประเมินผลกระทบ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการ ดังนี้
108
๏ ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และหากเป็นไปได้
ควรมีการประเมินมูลค่าทางการเงินของผลกระทบเหล่านั้น ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึง
ความเป็นไปได้ระยะยาว
๏ ประเมินว่าหากมีการรับเอาหลักการในตราสารระหว่างประเทศจะส่งผลดีต่อ
การดำเนินนโยบายและช่วยให้การดำเนินการของประเทศบรรลุเป้าหมาย
ในระดับสากลโดยไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดภายในประเทศและ
ต่างประเทศหรือไม่
๏ ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง
โดยแสดงให้เห็นว่าจะมีการบริหารจัดการต้นทุนการบริหารและปฏิบัติตามให้
น้อยลงอย่างไร
การประเมิน RIA ควรดำเนินการด้วยนโยบายที่ชัดเจน มีการกำหนดโครงการฝึกอบรม
การแนะแนวทาง กลไกการควบคุมคุณภาพการเก็บและใช้ข้อมูล การดำเนินการนี้ควรดำเนินการ
ในระยะเริ่มต้นของกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการในนโยบายดังกล่าวโดยได้รับการสนับสนุนจาก
เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง 109
นอกจากนี้ หากพิจารณาเฉพาะเจาะจงยังขั้นตอนการทำ RIA ที่ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ
3.3.2 ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน 8 ขั้นแล้วจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกับการกำหนดขั้นตอนการทำ
RIA ของ European Commission โดยในขั้นตอนที่ 6 และขั้นตอน ที่ 7 ของการทำ RIA เป็น
ส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม โดยอาจสรุปแนวทางดำเนินการใน
2 ขั้นตอนได้ว่า
107 ibid.
108 ibid.
109 ibid.
สถาบันพระปกเกล้า
80