Page 94 - kpiebook65010
P. 94

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               หลักเกณฑ์ตายตัวว่าเมื่อใดต้องใช้เทคนิคใด ทั้งนี้ ก็เนื่องจากการทำ RIA แต่ละเรื่องอาจมีประเภท
               (type) และระดับ (extent) ของผลกระทบแตกต่างกัน รวมทั้งอาจมีความซับซ้อนของปัญหา

               ในแต่ละท้องที่แตกต่างกัน ความแตกต่างนี้เองอาจทำให้มีการเน้นหนักระดับของการประเมิน
                                                                                             112
               ในเชิงคุณภาพ ในเชิงปริมาณอาจแตกต่างกันไปและอาจมีการใช้เทคนิคแบบผสมผสานกันได้
               ในหัวข้อนี้จะนำเสนอตัวอย่างของวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบ (analytical methodology)
               โดยเน้นไปที่เทคนิควิธีการที่นิยมใช้ตามแนวทางของ EU Commission และในกลุ่มประเทศ
               OECD โดยจะนำเสนอแนวทางการดำเนินการของทั้งสององค์กรร่วมกันเนื่องจากใช้เทคนิคใน

               ลักษณะเดียวกัน

                    หลักการเบื้องต้นของการเลือกวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบอาจพิจารณาได้จากหลักการที่

               OECD กำหนดขึ้นในปี 1997 ซึ่งมีหลักว่าวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบสำหรับการทำ RIA ควรมี
               ความยืดหยุ่นแต่ในขณะเดียวกันก็มีความสม่ำเสมอ โดย OECD ยอมรับให้ CBA เป็นวิธีการ
               วิเคราะห์พื้นฐานที่สำคัญ (gold standard) ของการทำ RIA แต่ก็ไม่ได้ห้ามการเลือกวิธีการ

               วิเคราะห์อื่น ๆ แต่อย่างใด
                                    113
                    หลังจากที่มีการกำหนดหลักการเบื้องต้นในปี 1997 OECD ได้เผยแพร่คำแนะนำสำหรับ

               การเลือกวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบในเอกสารหลายฉบับ ในที่นี้จะยึดเอกสาร OECD Best
               Practice Principles for Regulatory Policy 2020 เป็นจุดเริ่มต้นเนื่องจากกำหนดหลักการ
               ค่อนข้างกระชับและเป็นเอกสารล่าสุดที่มีการเผยแพร่ (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2564)

               โดยเอกสารดังกล่าวได้กำหนดหลักการเบื้องต้นของการกำหนดวิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมเอาไว้
               เช่นกันว่าวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบควรมีลักษณะที่เรียบง่าย (simple) และยืดหยุ่น (flexible)

               เท่าที่จะสามารถทำให้เป็นไปได้  โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้เป็นครั้งแรกในประเทศใดประเทศหนึ่ง
                                         114
               อย่างไรก็ตามไม่มีวิธีการวิเคราะห์ใดที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ผลกระทบทุกประเภท ซึ่งเป็นไป
               ตามหลักที่ว่า “no one size fits all” โดยวิธีการวิเคราะห์แบบ CBA เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถ

               นำมาใช้ได้ อย่างไรก็ตามในบางครั้ง CBA อาจมีความซับซ้อนตามแต่เงื่อนไขและการใช้ในแต่ละ
               ประเทศ ดังนั้น อาจใช้วิธีการวิเคราะห์อื่น ๆ ก็ได้ โดยมีหลักพิจารณาว่าวิธีการวิเคราะห์ที่เลือกควร




                    112   Andrea Renda, “Using Regulatory Impact Analysis to Improve Decision Making in the ICT
               Sector” (Centre for European Policy Studies 2014) 12.
                    113   OECD, Regulatory Impact Analysis (n 48) 34.


                    114   OECD, Regulatory Impact Assessment 2020 (n 43) 15.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     82
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99