Page 93 - kpiebook65010
P. 93

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                      ขั้นตอนที่ 6 การวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุน (analysis of benefit and costs)
               ในขั้นตอนนี้จะเป็นการระบุผลประโยชน์และต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดจากทางเลือกทั้งหลายที่มี

               การกำหนดโดยถือเป็นขั้นตอนสำคัญของการทำ RIA ซึ่งการวิเคราะห์ผลกระทบของแต่ละทาง
               เลือกนั้นนิยมใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์แบบ Cost-benefit analysis (CBA) และ

               แบบ Cost- effectiveness analysis (CEA) รวมทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยง (risk analysis)
               โดยหนึ่งในทางเลือกอาจเป็นการกำหนดทางเลือกแบบไม่มีการใช้นโยบายหรือกฎหมายใด ๆ มา
               ดำเนินการ ซึ่งอาจเรียกว่าทางเลือกแบบ “zero option” “baseline” หรือ “no policy

               change” โดยทางเลือกนี้มีความใกล้เคียงกับแบบปล่อยเลยตามเลยตามกลไกปัจจุบัน (status
               quo scenario) โดยจะกำหนดทางเลือกใดนั้นก็จะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มี (available data) และ

               ความลึกของการทำ RIA ที่ต้องการทำ (ซึ่งใน EU ต้องพิจารณาหลักความได้สัดส่วนในการวิเคราะห์
               ผลกระทบประกอบด้วย) โดยการวิเคราะห์อาจเป็นได้ทั้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
               รวมทั้งวิเคราะห์แบบผสม 110


                      ขั้นตอนที่ 7 การเสนอทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับดำเนินการ (identification of the
               preferred solution) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเหตุผลสนับสนุนว่าจากมุมมองของ

               ผู้วิเคราะห์ทางเลือกทางนโยบายใดที่มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการโดยอาจอธิบายว่าทางเลือกนั้น
               มีความเหมาะสมจำเป็นกว่าทางเลือกอื่น ๆ ที่พิจารณาอย่างไร โดยทางเลือกที่ผู้ประเมินเสนอนั้น
               ควรถูกสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงลึก โดยควรมีการนำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบที่สามารถ

               วัดค่าได้ ทั้งนี้ ในท้ายที่สุดผู้มีอำนาจตัดสินใจจะเลือกทางเลือกใดนั้นไม่มีข้อบังคับและอาจไม่ใช่
                                                               111
               ทางเลือกที่รายงาน RIA เสนอเป็นทางเลือกที่เหมาะสมก็ได้


               3.5 เทคนิควิธีการประเมินในเบื้องต้น


                    เทคนิควิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคงในระดับนโยบายและกฎหมายมีลักษณะพื้นฐาน
               ร่วมกับการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจในลักษณะที่ว่าอาจมีการประเมินผลกระทบทั้งสองด้าน

               ด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลายและอาจมีการผสมผสานเทคนิคดำเนินการ โดยเทคนิคที่นิยม
               อาจได้แก่การวิเคราะห์ความคุ้มได้คุ้มเสีย (cost-benefit analysis: CBA) อย่างไรก็ดี ไม่มี



                    110   OECD, Regulatory Policy in Perspective: A Reader’s Companion to the OECD Regulatory
               Policy Outlook 2015 (OECD Publishing 2015) 37.
                    111   ibid.


                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     81
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98