Page 95 - kpiebook65010
P. 95

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               สามารถนำไปใช้เพื่อให้ได้ทางเลือกที่บรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหา  ในขณะเดียวกันก็ไม่ควร
                                                                         115
               ที่จะต้องใช้การวัดหรือตีค่าผลกระทบเป็นตัวเลขเสมอไปหากปรากฏว่าข้อมูลที่ใช้ประกอบการ

               วิเคราะห์ไม่เอื้อที่จะให้ประมินค่าเป็นตัวเลขได้  โดยวิธีการวิเคราะห์อาจเป็นการวิเคราะห์เชิง
                                                      116
               ปริมาณหรือเชิงคุณภาพก็ได้  โดยในที่นี้จะยกเสนอตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์ที่นิยมใช้ดังสรุปได้
                                      117
               ดังต่อไปนี้ 118

               3.5.1  การวิเคราะห์แบบ Least cost analysis

                      การวิเคราะห์แบบ Least cost analysis จะพิจารณาเฉพาะผลกระทบด้านต้นทุน

               โดยจะทำการวิเคราะห์ว่าทางเลือกใดที่มีต้นทุนต่ำสุดในบรรดาทางเลือกทั้งหลาย จากนั้นจะเลือก
               ทางเลือกที่มีต้นทุนสุทธิต่ำที่สุด (lowest net cost)  ทางเลือกนี้เป็นที่นิยมใช้เมื่อผลประโยชน์
                                                          119
               (benefits) คงที่และถูกกำหนดไว้แน่นอน (fixed) และมีโจทย์ในการกำหนดทางเลือกเพื่อบริหาร
               จัดการเฉพาะประเด็นที่ว่าจะสามารถดำเนินการทางเลือกใดเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการแก้
               ปัญหานั้นได้  120


               3.5.2   การวิเคราะห์แบบ Cost-benefit analysis (CBA)

                      CBA เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ความคุ้มได้คุ้มเสียของทางเลือกต่าง ๆ เพื่อจัดการกับ

               ประเด็นหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยหลักมักจะเป็นการแปลงค่าผลกระทบที่สำคัญของแต่ละทาง
               เลือกทั้งผลกระทบที่เป็นต้นทุนและผลประโยชน์ให้เป็นต้นทุนหรือผลประโยชน์ที่เห็นเป็นมูลค่า
               เงินได้ (monetization) วัตถุประสงค์ของ CBA ในการทำ RIA ก็เพื่อทำให้ได้มาซึ่งทางเลือกที่มี

               ผลประโยชน์ขั้นสุดท้ายต่อสังคม  CBA เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
                                           121
               โดยเฉพาะเมื่อมีการเสนอใช้มาตรการแทรกแซงใหม่ที่ยังไม่มีการวางมาตรการเรื่องนั้นมาก่อน

               โดยเน้นไปที่การคำนวณเพื่อหาผลประโยชน์สุทธิ (net benefits) 122


                    115   ibid 21-22.

                    116   ibid.
                    117   OECD, Regulatory Policy in Perspective (n 56) 88-89.
                    118   ibid 88.

                    119   European Commission, ‘Better Regulation Toolbox’ (n 35) 452.
                    120   OECD, Regulatory Policy in Perspective (n 56) 88.
                    121   ibid 88.

                    122   European Commission, ‘Better Regulation Toolbox’ (n 36) 451.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     83
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100