Page 146 - kpiebook65020
P. 146

107

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                       (3) ปัญหาปริมาณคดีที่ค้างในศาลเป็นจ านวนมาก และปัญหานักโทษล้นเรือนจ า ซึ่งส่งผลกระทบต่อ
               การรักษาความยุติธรรมโดยรวม ท าให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของรัฐเป็นอันมาก

                       (4) กระทบต่อการด ารงชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้กระท าความผิด เนื่องจากเมื่อบุคคลรับโทษ
               อาญาจะมีประวัติอาชญากรติดตัว (criminal record) ซึ่งหากไม่มีระบบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ดีเพียงพอ

               อาจเป็นผลร้ายหรือสร้างตราบาปแก่บุคคลนั้น แม้บุคคลนั้นจะพ้นโทษ ได้รับอภัยโทษ ล้างมลทิน หรือได้รับ
               การนิรโทษกรรมแล้วก็ตาม นอกจากนี้ หากบุคคลได้รับโทษอาญาในกรณีที่ไม่สมควรได้รับ จะเป็นการตัด
               โอกาสในการประกอบอาชีพหรือด ารงต าแหน่งโดยไม่เป็นธรรมได้ เนื่องจากมีอาชีพหลายอาชีพและต าแหน่ง
               หลายต าแหน่งที่ก าหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับการรับโทษอาญาไว้เป็นคุณสมบัติต้องห้าม

                       ดังนั้น การก าหนดโทษอาญาในกฎหมายจึงควรก าหนดเฉพาะในกรณีที่เป็นความผิดร้ายแรง โดย

               จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบและค านึงถึงสัดส่วนของอัตราโทษที่เหมาะสมด้วย
                       มาตรา 21  (8)  แห่งพระราชบัญญัติฯ ก าหนดหลักเกณฑ์ 2 ประการที่หน่วยงานจะต้องพิจารณาใน
                                                164
               การก าหนดโทษอาญาไว้ในร่างกฎหมาย  ได้แก่

                       (1) การกระท านั้นต้องกระทบต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศ ความสงบเรียบร้อยหรือ
               ศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรง หรือมีผลกระทบต่อส่วนรวมวัตถุประสงค์ของการตรากฎหมาย
               จะต้องเป็นไปเพื่อคุ้มครองสิ่งต่อไปนี้เท่านั้น จึงอาจก าหนดเป็นโทษอาญาได้

                              (1.1)  เป็นการกระท าที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประเทศ ได้แก่

               การกระท าที่อาจท าให้เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมืองการปกครอง หรือเป็นการกระท าที่
               อาจท าให้เกิดความไม่ปลอดภัยของประเทศหรือประชาชน อาจก าหนดเป็นความผิดอาญาได้ตามความร้ายแรง
               ของการกระท านั้น ๆ

                              (1.2)  เป็นการกระท าที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน (public  order)  หรือ
               กระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรง (good  morals)  หรือมีผลกระทบต่อส่วนรวมในวงกว้าง

               ซึ่งต้องค านึงถึงสภาพสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

                              ในการพิจารณาดังกล่าวให้ถือหลักดังต่อไปนี้

                              ความสงบเรียบร้อยของประชาชน (public  order)  คือ กฎเกณฑ์เพื่อรักษาความสงบ
               เรียบร้อย มุ่งคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมหรือในประเทศชาติ เพื่อให้เกิดความมั่นคง (security)
               ความสงบสุข (tranquility) สันติภาพ (peace) และสุขภาวะ (public health) ร่วมกันของคนในสังคม การ
               กระท าใดที่ท าให้เกิดความไม่มั่นคง ความไม่สงบสุข ความวุ่นวายหรือบ่อนท าลายสุขภาวะ อันจะมีผลต่อการ

               อยู่ร่วมกันของคนในสังคม การกระท าที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้นย่อมก าหนดเป็น
               ความผิดอาญาได้ตามความร้ายแรงแห่งการกระท าและเจตนา

                              ศีลธรรมอันดีของประชาชน (good morals) คือ กฎเกณฑ์ที่คนในสังคมส่วนใหญ่ถือปฏิบัติ
               ตามความเชื่อ ตามประเพณี หรือศาสนา และถือว่าเป็นเครื่องวินิจฉัยความประพฤติว่าถูกต้องหรือไม่ ปกติการ



               164
                  ค าแนะน าของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การก าหนดโทษอาญาในกฎหมาย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม
               136 ตอนที่ 132 ก ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151