Page 149 - kpiebook65020
P. 149

110

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               เรียบร้อยให้กับบุคคล จึงไม่ใช่เรื่องทางแพ่งและการเปลี่ยนโทษทางแพ่งมาเป็นโทษปรับเป็นพินัยย่อมคุ้มครอง
               สิทธิเสรีภาพของผู้ถูกลงโทษมากกว่า

                       โดยสรุป นักกฎหมายมักจะคุ้นเคยกับการก าหนดมาตรการในกฎหมายภายใต้ข้อพิจารณาในทางหลัก
               นิติศาสตร์ เช่น การใช้หลักความได้สัดส่วนระหว่างการจ ากัดเสรีภาพในการประกอบธุรกิจของประชาชนและ

               วัตถุประสงค์ของกฎหมาย การใช้หลักความพอสมควรแก่เหตุในการพิจารณาโทษหรือใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
               รัฐ หลักการเหล่านี้ล้วนเป็นหลักกฎหมายทั่วไปในการก ากับการใช้อ านาจของรัฐ  อย่างไรก็ดี หลักการ
               พิจารณามาตรการในกฎหมายดังกล่าวยังไม่สามารถช่วยหน่วยงานพิจารณาได้ว่ากฎหมายที่ต้องการจะออกนั้น
               เป็นกฎหมายที่ “ดี” หรือไม่แนวคิดเกี่ยวกับการมีกฎหมายที่ “ดีและมีคุณภาพ” หมายถึง การมีกฎหมายเท่าที่
               จ าเป็น บรรลุวัตถุประสงค์ได้  มีความชัดเจน และเข้าถึงเข้าใจได้ง่าย แนวคิดดังกล่าวจึงถูกน ามารวมไว้ใน

               ขั้นตอนการตรวจเนื้อหาร่างกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายฯ ควบคู่ไปกับหลัก
               กฎหมายทั่วไป เพราะกฎหมายที่ถูกต้องตามหลักนิติศาสตร์และชอบด้วยหลักการต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญ อาจ
               ไม่ใช่กฎหมายที่มีประสิทธิภาพเสมอไป จึงอาจกล่าวได้ว่าการตรวจสอบเนื้อหาตามหลักการของมาตรา 77 ใน

               รัฐธรรมนูญและในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการจัดท าร่างกฎหมายฯ เป็นการผสมผสานมุมมองการตรวจ
               พิจารณาร่างกฎหมายผ่านทางด้านการบริหารจัดการภาครัฐและทางนิติศาสตร์ เพื่อให้หน่วยงานได้มีโอกาส
               ทบทวนและไตร่ตรองถึงประสิทธิภาพของมาตรการที่ตนเลือก ผลที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการดังกล่าว
               ประกอบกับความชอบด้วยกฎหมายในการเลือกใช้มาตรานั้น
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154