Page 147 - kpiebook65020
P. 147

108

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               กระท าที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมท าให้นิติกรรมเสียไป แต่การกระท าที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของ
               ประชาชนจะเป็นความผิดอาญาก็ต่อเมื่อการกระท านั้นเป็นเรื่องร้ายแรงและกระทบต่อการอยู่ร่วมกันของคน
               ในสังคมอันอาจท าให้เกิดความไม่มั่นคง ความไม่สงบสุข ความวุ่นวายในสังคมได้ ศีลธรรมอันดีของประชาชนนี้
               อาจมีวิวัฒนาการได้ตามยุคสมัยและตามพื้นที่ การกระท าที่กระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรง

               ย่อมก าหนดเป็นความผิดอาญาได้ตามยุคสมัย

                              การกระท าที่มีผลกระทบต่อส่วนรวม คือ การกระท าที่ส่งผลร้ายต่อประชาชนในวงกว้าง ใน
               ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง หรือสิ่งแวดล้อม หรือผลกระทบที่เป็นผลร้ายอื่นที่ไม่เพียงแต่เป็น
               การกระทบต่อปัจเจกบุคคลเป็นการส่วนตัว

                       ทั้งนี้ ในการพิจารณาหลักเกณฑ์ข้างต้น หน่วยงานของรัฐต้องตระหนักว่าหลักดังกล่าวมีลักษณะเป็น

               พลวัตจึงต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับยุคสมัย สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม และ
               ประเพณีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมตลอดถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและปัจจัยอื่น ๆ

                       (2) เป็นกรณีที่ไม่สามารถใช้มาตรการอื่นใดเพื่อบังคับใช้กฎหมายอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพเพียง
               พอที่จะท าให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายได้

                       การก าหนดให้การกระท าใดเป็นความผิดและมีโทษอาญาเป็นการจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
               อย่างยิ่ง จึงต้องใช้ในกรณีที่ไม่มีมาตรการอื่นเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายได้ หรือการลงโทษอย่างอื่นที่

               ไม่ใช่โทษอาญาไม่ท าให้ผู้กระท าความผิดเกรงกลัวเพราะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจคุ้มค่ากว่าโทษที่ได้รับ
               หากมีมาตรการอื่นที่ท าให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายได้ เช่น มาตรการจูงใจเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตาม
               กฎหมาย หรือการอ านวยความสะดวกให้กระท าการที่รัฐอยากให้กระท า การก าหนดมาตรการบังคับทาง
                                                                                       165
               ปกครอง การก าหนดสภาพบังคับทางเศรษฐกิจ เช่น การก าหนดโทษปรับเป็นพินัย  หรือการก าหนดให้
               เอกชนฟ้องร้องด าเนินคดีได้เอง ก็อาจเลือกใช้ใช้มาตรการดังกล่าวก่อน แต่ถ้ามาตรการดังกล่าวไม่อาจท าให้
               ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างได้ผลหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอ กรณีนี้จึงจะก าหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่
               ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวเป็นความผิดและมีโทษอาญา

                       ตัวอย่างของการกระท าที่ไม่ควรก าหนดเป็นโทษอาญาตามหลักเกณฑ์ (1)  และ (2)  ดังกล่าวข้างต้น
               ได้แก่


               165  “พินัย” แปลมาจากแนวคิดของค่าปรับทางปกครองในกฎหมายเยอรมันที่เรียกว่า “Geldbuße” หมายถึง เงินค่าปรับที่ใช้
               จ่ายให้แก่รัฐ ดู คณิต ณ นคร, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พิมพ์ครั้งที่ 7 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2549).
                  “โทษปรับเป็นพินัย” จึงเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ยืมเอาแนวคิดดังกล่าวมา เพื่อน ามาใช้แทนโทษอาญาส าหรับความผิด
               อาญาที่ปรับสถานเดียว กล่าวคือ ผู้ที่กระท าผิดไม่ร้ายแรงและไม่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือความปลอดภัยของ
               ประชาชน โดยผู้กระท าผิดจะต้องช าระค่าปรับทางกฎหมายให้แก่รัฐ หากไม่ช าระภายในเวลาที่ก าหนด เจ้าหน้าที่จะส่งเรื่องให้
               อัยการฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งสามารถพิพากษาสั่งปรับเป็นพินัย อายัดทรัพย์สิน หรือท างานบริการสาธารณะ เพื่อลดข้อด้อยของ
               โทษอาญาในกรณีความผิดที่ไม่ร้ายแรง เช่น การกักขังแทนค่าปรับ และการบันทึกประวัติอาชญากรรม
                  ดู บันทึกส านักงานคณะกรรมการกษฎีกาประกอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. .... (รับฟังความคิดเห็น
               ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2563)
                  ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “รายงานผลการด าเนินการขอคณะอนุกรรมการศึกษาและยกร่างกฎหมายเพื่อปรับปรุง
               กฎหมาย ที่ก าหนดความผิดทางอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือเปรียบเทียบได้,” (2562) จาก https://www.lawreform
               .go.th/uploads/files/1579159130-urkyb-ru83x.pdf>
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152