Page 144 - kpiebook65020
P. 144

105

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                       160
               กฎหมาย  อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีอ านาจดุลพินิจก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้อ านาจไว้เท่านั้น
               และการใช้ดุลพินิจมิใช่อ านาจที่เจ้าหน้าที่สามารถใช้ตามอ าเภอใจโดยไร้ขอบเขตได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐในฐานะ
               ผู้ใช้กฎหมายสามารถเลือกตัดสินใจได้หลายทาง โดยวิธีการปรับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง อย่าง
               สมเหตุสมผลและเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น ๆ การใช้อ านาจดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายจึง

               ต้องอยู่บนฐานของข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายที่ชัดเจน และการใช้เหตุผลประกอบการพิจารณาตัดสิน

                       มาตรา 21 (7) ของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การตัดท าร่างกฎหมายฯ จึงได้ก าหนดให้หน่วยงานของ
               รัฐในการจัดท าร่างกฎหมายควรก าหนดการให้อ านาจดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการออกค าสั่งทางปกครองหรือ
               ด าเนินกิจการทางปกครองเฉพาะที่เท่าที่จ าเป็น และควรก าหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจและระยะเวลาการ
               ด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เป็นสาระส าคัญไว้ในร่างกฎหมายให้ชัดเจน เนื่องจากการก าหนดให้ดุลพินิจแก่

               เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นการให้อ านาจภายในกรอบที่กฎหมายก าหนด แต่หากกฎหมายไม่ก าหนดรายละเอียดเงื่อนไข
               ในการใช้ดุลพินิจให้ชัดเจน อาจท าให้เจ้าหน้าที่ใช้อ านาจของตนโดยขัดแย้งกับเจตนารมย์ของกฎหมายได้

                       ด้วยเหตุนี้จึงจ าเป็นต้องการก าหนดให้อ านาจดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่รัฐนอกจากควรจะใช้อย่างจ ากัดแล้ว
               จึงควรต้องมีกรอบหรือขอบเขตในการใช้ดุลพินิจที่ชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของ
               กฎหมายที่ให้อ านาจดุลพินิจนั้น โดยการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบทางเลือก ระยะเวลา

               วิธีการ หรือขั้นตอนตามที่กฎหมายก าหนด และต้องพิจารณาเงื่อนไขที่กฎหมายก าหนดประกอบกับข้อเท็จจริง
               ในการใช้ดุลพินิจด้วย กฎหมายฉบับใดที่ก าหนดให้อ านาจดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ก็จะต้องก าหนดหลักเกณฑ์ตาม
               ลักษณะเฉพาะของเรื่องเพื่อใช้เป็นกรอบในการใช้ดุลพินิจไว้ด้วย

                       ในกรณีที่ต้องบัญญัติกฎหมายให้อ านาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในเบื้องต้นควรพิจารณาว่าจ าเป็นต้อง

               ก าหนดให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจ หรือไม่ หรือเป็นกรณีที่สามารถก าหนดให้เจ้าหน้าที่มีเพียงอ านาจผูกพันและมี
               หน้าที่ต้องปฏิบัติ

                       หากจ าเป็นต้องให้อ านาจดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องมีการก าหนดหลักเกณฑ์และแนวทาง
               ปฏิบัติในการใช้ดุลพินิจ ตลอดจนการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ รวมถึงก าหนดระยะเวลาในการด าเนินการตาม
               ขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและประชาชนสามารถตรวจสอบได้  หลักเกณฑ์ในการ

               ตรวจสอบพิจารณาการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ
                                        161
               สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเด็น  ได้แก่

                       (1) การมีบทบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีดุลพินิจในการออกค าสั่งทางปกครองหรือด าเนินกิจการทาง
               ปกครอง ให้กระท าได้เท่าที่จ าเป็น ทั้งนี้ ในกรณีที่ก าหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีดุลพินิจ ให้ก าหนดหลักเกณฑ์
               การใช้ดุลพินิจและระยะเวลาในการด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เป็นสาระส าคัญไว้ในร่างกฎหมายให้ชัดเจน


                       (2) ในกรณีที่ร่างกฎหมายก าหนดให้ออกกฎเพื่อก าหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
               กฎดังกล่าวต้องก าหนดให้การใช้ดุลพินิจเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

               160   วรพจน์ วิศรุตพิชญ์,  “การควบคุมการใช้ดุลพินิจทางปกครองโดยองค์กรตุลาการ,”  วารสารกฎหมายปกครอง เล่มที่ 8,
               น 37-38. (2532).
               161
                   คณะท างานศึกษาและยกร่างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,
               “ความเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ,”  (2562) จาก https://www  .lawreform  .go.th/uploads
               /files/15934 88899-2md2a-80h4b.pdf>
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149