Page 148 - kpiebook65020
P. 148

109

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                       (1)  การกระท าความผิดเล็กน้อย เช่น ผิดกฎจราจรเล็กน้อย โดยการจอดรถในที่ห้ามจอด ขับรถทับ
               เส้นทึบ (เครื่องหมายจราจรบนผิวทาง) หรือก่อเหตุเดือดร้อนร าคาญที่กระท าต่อปัจเจกชนอาจก าหนดเป็นโทษ
               ปรับเป็นพินัยได้ ซึ่งต่างจากการกระท าผิดกฎจราจรที่อาจกระทบต่อความปลอดภัยของผู้อื่นซึ่งต้องก าหนดเป็น
               โทษอาญา เช่น การขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต การขับรถฝ่าไฟแดง (สัญญาณไฟจราจร)


                       (2)  กระท าการฝ่าฝืนกฎหมายเศรษฐกิจที่ไม่มีผลกระทบรุนแรง อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง
               หรือมาตรการบังคับอื่นแทน เช่น สั่งให้หยุดหรือแก้ไขให้ถูกต้อง หรือการใช้มาตรการบังคับทางแพ่งในกรณี
               การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่ได้มีความมุ่งหมายทางการค้า

                       (3)   การฝ่าฝืนไม่ต่ออายุใบอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาตเกินก าหนดไม่แจ้งเปลี่ยนสถานที่
               ประกอบการ

                       (4)  ความผิดเกี่ยวกับการแต่งเครื่องแต่งกายโดยไม่มีสิทธิ เช่น แต่งกายแสดงวิทยฐานะของ
               สถาบันอุดมศึกษาโดยไม่มีสิทธิ แต่การแต่งเครื่องแบบเจ้าพนักงานซึ่งมีอ านาจตามกฎหมายโดยไม่มีสิทธิควร

               ก าหนดเป็นโทษอาญาเพราะจะท าให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเป็นเจ้าพนักงาน เป็นต้น

                       นอกจากหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย 2 ประการข้างต้นแล้ว หน่วยงานของรัฐก็ควรค านึงถึงประเด็น
               ดังต่อไปนี้ ในการก าหนดโทษอาญาไว้ในร่างกฎหมายด้วย

                       (1) หากบทบัญญัติความผิดที่มีโทษอาญาในพระราชบัญญัติใดมีองค์ประกอบความผิดเหมือนหรือ
               คล้ายคลึงกับความผิดที่ก าหนดไว้แล้วในภาคความผิดของประมวลกฎหมายอาญา มิให้ก าหนดโทษอาญาใน

               ร่างกฎหมายนั้น เว้นแต่จะมีเหตุผลความจ าเป็นพิเศษว่าเป็นกฎหมายเฉพาะจ าเป็นต้องมีโทษสูงกว่าหรือมีโทษ
               อุปกรณ์ เช่น เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

                       อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ประสงค์จะก าหนดโทษอาญาที่มีโทษน้อยกว่าโดยมิให้น าประมวลกฎหมายอาญา
               มาใช้บังคับจะต้องระบุในกฎหมายเฉพาะนั้นให้ชัดเจนว่า มิให้น าโทษส าหรับความผิดตามประมวลกฎหมาย
               อาญามาใช้บังคับส าหรับการกระท าความผิดตามกฎหมายเฉพาะนั้น

                       (2)  ในกรณีที่มีพันธกรณีระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันประเทศไทย เช่น สนธิสัญญาหรือความตกลง

               ระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ก าหนดพันธกรณีให้ประเทศไทยต้องตรากฎหมายที่มีโทษอาญาตามที่
               ก าหนดไว้ในพันธกรณีนั้น ให้ก าหนดโทษอาญาได้ตามความจ าเป็นและเหมาะสม และมีเพดานโทษ
               (threshold)  ที่ชัดเจนด้วย ทั้งนี้ ในการตรากฎหมายที่ก าหนดโทษอาญาตามพันธกรณีระหว่างประเทศนั้น
               จะต้องอ้างข้อความในพันธกรณีที่ระบุให้ก าหนดโทษอาญาให้ชัดเจนด้วย มิใช่แค่เป็นข้อเสนอแนะตาม

               พันธกรณีว่าอาจก าหนดเป็นโทษอาญาเท่านั้น

                       (3) การกระท าใดที่เป็นกรรมเดียวและมีโทษอาญาอยู่แล้ว ห้ามก าหนดให้การกระท ากรรมเดียวกันนั้น
               มีโทษอย่างอื่นด้วย เพื่อจูงใจให้ยอมรับโทษอย่างอื่น เพื่อระงับคดี

                       ทั้งนี้ บทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งหลายที่ก าหนด “มาตรการลงโทษทางแพ่ง”เช่น กฎหมายว่าด้วย
               หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องเปลี่ยนบทบัญญัติเป็นสภาพบังคับอื่นที่เหมาะสม เช่น โทษปรับทาง
               ปกครอง หรือโทษปรับเป็นพินัย เว้นแต่โดยสภาพของความผิดสมควรมีโทษอาญา เพราะเรื่องทางแพ่งใน

               ระบบประมวลกฎหมาย หมายถึงเรื่องระหว่างเอกชนกับเอกชนเท่านั้น แต่การละเมิดกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
               ไม่ใช่เรื่องระหว่างเอกชนกับเอกชน หากแต่เป็นเรื่องระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งต้องรักษาความสงบ
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153