Page 145 - kpiebook65020
P. 145

106

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                              - ต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อหลักการส าคัญที่รัฐธรรมนูญรับรอง เช่น หลักนิติธรรม หลักคุ้มครอง
               ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

                              - ต้องสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

                              - ต้องสอดคล้องและปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

                              -  ต้องยึดหลักความพอสมควรแก่เหตุ และหลักความได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์ที่ส่วนรวม
               จะได้รับกับสิทธิและเสรีภาพและประโยชน์ที่บุคคลต้องเสียไป

                              - ต้องยึดหลักความเสมอภาคและต้องไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

                       (3) หน่วยงานของรัฐต้องจัดท าแนวทางปฏิบัติในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามหลักเกณฑ์ที่

               ก าหน ให้ทันสมัยอยู่เสมอและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป เพื่อให้การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
               ของรัฐมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้  ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติในการใช้ดุลพินิจดังกล่าวมิให้ใช้บังคับในทางที่
               เป็นผลร้ายแก่บุคคลจนกว่าจะมีการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ

                       อย่างไรก็ดี หลักเกณฑ์ข้างต้นจะไม่ใช้บังคับแก่การใช้ดุลพินิจในการด าเนินงานตามกระบวนการ
               ยุติธรรมและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล การพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการ และการด าเนินงาน

               ของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการสอบสวน ไต่สวน การบังคับคดี และการวางทรัพย์

                       2.6.5 การก าหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง

                       ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากโทษอาญาที่ก าหนดไว้กฎหมายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่มีความไม่
               สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย เนื่องจากการก าหนดโทษอาญาบางประเภทไม่สมควรเป็นโทษอาญา
                                                                         162
               ท าให้เกิดปรากฏการณ์กฎหมายอาญาเฟ้อ หรือ Overcriminalisation  รวมไปถึงการก าหนดอัตราโทษไม่ได้
               สัดส่วนกับการกระท าผิด หรือในกฎหมายบางเรื่องมีการน าโทษอาญามาใช้โดยไม่เหมาะสมกับลักษณะ
                      163
               ความผิด  ซึ่งท าให้เกิดผลกระทบ เช่น

                       (1) กฎหมายอาญาขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กับพฤติกรรมที่เป็นภัยคุกคามอย่างแท้จริง

                       (2)  ปัญหาการบริหารงานด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งมีปริมาณงานคดีเพิ่มขึ้นเป็นจ านวน
               มาก ต้องใช้บุคลากร งบประมาณ ตลอดจนเครื่องมืออ านวยความสะดวกเป็นจ านวนมาก ส่งผลให้รัฐต้อง
               สูญเสียงบประมาณแผ่นดินเพิ่มมากขึ้น






               162
                  S.H. Kadish, “The Crisis of Overcriminalisation,” (1968) American Criminal Law Quaterly 7:24.
               163  เช่น การน าโทษอาญามาใช้กับความผิดเกี่ยวกับการควบคุมทางเศรษฐกิจ หากก าหนดลักษณะการกระท าที่เป็นความผิดไว้
               ไม่ชัดเจน อาจท าให้เกิดความไม่ยุติธรรมต่อผู้กระท าผิด เนื่องจากการการกระท าทางเศรษฐกิจล้วนผูกโยงกับผลก าไรทางธุรกิจ
               จึงจ าเป็นต้องแยกแยะระหว่างการกระท าด้วยเจตนาที่ผิดกฎหมายและการกระท าธรรมดาทางเศรษฐกิจให้ชัดเจน  การท า
               ความผิดทางอาญาในกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมทางเศรษฐกิจจึงต้องมีนัยทางศีลธรรมเพียงพอ
                  see  S.H.  Kadish,  “Some  Observations  on  the  Use  of  Criminal  Sanctions  in  Enforcing  Economic
               Regulations,”  (1963) The  University  of  Chicago  Law  Review,  3:30.A”  Ashworth,  “Conceptions  of
               OVercriminalisation,” (2008) Ohio State of Criminal Law 5:4-7, 418-424.
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150