Page 143 - kpiebook65020
P. 143

104

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                       นอกจากนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการให้ปฏิบัติงานบริหารซึ่งโดยสภาพที่มีลักษณะเป็น “งานประจ า”
                                                         157
               หรืองานที่บุคคลเพียงคนเดียวสามารถท างานได้  หรืองานที่มีการรับผิดชอบตามล าดับขั้นตอนของการ
               บริหารอยู่แล้ว การใช้ระบบคณะกรรมการในลักษณะนี้จะท าให้การท างานล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ
               เนื่องจากการใช้ระบบคณะกรรมการ มีวัตถุประสงค์เพื่อการระดมความคิดเห็นและความรู้จากหลายฝ่าย เป็น

               การ “ปรึกษาหารือ” ในลักษณะที่เป็นสหวิชาการ การใช้คณะกรรมการในงานบริหาร เช่น การอนุมัติ อนุญาต
               จึงไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการมีคณะกรรมการ เนื่องจากงานในลักษณะนี้เป็นงานที่มีการรับผิดชอบ
               ตามล าดับขั้นตอนของการบริหารอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่สามารถตัดสินใจได้เองตามกฎระเบียบ เช่น คณะกรรมการ

               พิจารณาการประกอบกิจการโรงมหรสพ ตามมาตรา 39 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
               ในการต่อใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต ต่ออายุใบอนุญาต และคณะกรรมการควบคุมโรงรับจ าน า มาตรา 6
               แห่งพระราชบัญญัติโรงรับจ าน า พ.ศ. 2505 ในการออกใบอนุญาตตั้งโรงรับจ าน า

                       ด้วยเหตุนี้ ระบบคณะกรรมการจึงควรน ามาใช้เฉพาะในกรณีที่เหมาะสมและจ าเป็น เพื่อให้การ
               ด าเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและหาผู้รับผิดชอบได้อย่างแท้จริง โดยในการก าหนดระบบคณะกรรมการใน
                                                                        158
               กฎหมาย หน่วยงานของรัฐจึงควรพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์  ดังต่อไปนี้
                              1) ควรหลีกเลี่ยงการก าหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ เว้นแต่กฎหมายนั้นเป็น

               การก าหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับนโยบายที่ส าคัญหรือนโยบายระดับชาติ

                              2)  ก าหนดให้มีกรรมการโดยต าแหน่งเท่าที่จ าเป็น ในกรณีที่จ าเป็นต้องมีกรรมการดังกล่าว
               ควรก าหนดเฉพาะต าแหน่งที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของคณะกรรมการนั้นโดยตรง

                              3)  ก าหนดให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเท่าที่จ าเป็น ในกรณีที่จ าเป็นต้องมีกรรมการดังกล่าว
               ควรก าหนดเฉพาะด้านที่จ าเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ

               และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของคณะกรรมการนั้นโดยตรง

                              4) ไม่แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีลักษณะการขัดกันแห่งผลประโยชน์

                       2.6.4 การก าหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการด าเนินการ

               ตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในร่างกฎหมายนั้นให้ชัดเจน

                       อ านาจดุลพินิจในกฎหมายเป็นกลไกที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบังคับใช้กฎหมาย
               ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่ผลที่เป็นธรรมและตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
               เจ้าหน้าที่จะสามารถใช้ความรู้ ความสามารถ และวิจารณญาณของตน พิจารณาด าเนินการใด ๆ โดยค านึงถึง
                                     159
               วัตถุประสงค์ของกฎหมาย  เพื่อลดทอนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความแข็งกระด้างและไม่ยืดหยุ่นของ




               157  กองนิติบัญญัติ ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “หลักเกณฑ์การใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมาย,” ใน การสัมมนา
               เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมาย, ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ า,  2560:  จาก http://web.
               krisdika.go.th /data/outsitedata/article77/file/4-01.pdf.
               158
                  ค าแนะน าของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมาย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
               เล่ม 136 ตอนที่ 132 ก ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562
               159  วรเจตน์ ภาคีรัตน์, กฎหมายปกครองภาคทั่วไป, (กรุเทพฯ: นิติราษฎร์, 2554), น. 79.
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148