Page 192 - kpiebook65020
P. 192
153
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
(1) การเพิ่มสาธารณะประโยชน์ในทางเศรษฐศาสตร์
ก่อนจะตัดสินออกกฎใด ๆ ผู้ออกกฎจ าเป็นจะต้องศึกษาและคาดคะเนถึงสาธารณะ
ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการออกกฎเสียก่อน แม้ว่าผู้ออกกฎจะไม่สามารถค านวณและวิเคราะห์ถึงสารธารณะ
ประโยชน์ล่วงหน้าได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ก็สามารถน าเอาหลักการทางทฤษฎีมาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทาง
ในการค านวณถึงผลประโยชน์เหล่านั้นให้ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด หนึ่งในทฤษฎีที่สามารถน ามา
ปรับใช้ได้คือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบเสรีนิยม
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบเสรีนิยมตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานว่า กลไกที่สามารถ
เข้ามาจัดการชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมให้ด าเนินกันไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นไม่ใช่กฎ แต่คือ
กลไกของตลาดผ่านมือที่ไม่มองเห็น (the invisible hand) อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมก็ไม่ได้
ปฏิเสธความจ าเป็นในการออกกฎ นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมจึงเชื่อว่าสังคมจ าเป็นจะต้องมีกฎและกฎหมาย
พื้นฐานเพื่อช่วยให้กลไกตลาดสามารถท าหน้าที่ขับเคลื่อนสังคมได้ นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมยังเชื่อ
ว่า ในบางสถานการณ์กลไกของตลาดก็ไม่สามารถท าหน้าที่ใจการจัดสรรความต้องการของคนในสังคมให้
สอดคล้องกันได้ ความล้มเหลวของตลาด (Market Failure) ส่งผลให้สาธารณประโยชน์ในสังคมลดลงและท า
ให้รัฐต้องเข้าแทรกแซงตลาด เช่น ออกกฎหรือมาตราการอื่น ๆ เพื่อช่วยเพิ่มสาธารณประโยชน์นั้นเอง ความ
2
ล้มเหลวของตลาดนั้นเกิดขึ้นได้จากเหตุผลดังต่อไปนี้
ประการแรก การผูกขาดและการผูกขาดโดยธรรมชาติ (Monopolies and
Natural Monopolies) การแข่งขันอย่างเท่าเทียมจะท าให้กลไกตลาดด าเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การผูกขาดและมาตรการอื่น ๆ ที่ใช้ลดการแข่งขันเป็นสาเหตุที่ท าให้เกิดความล้มเหลวของตลาด ดังนั้น เมื่อมี
การผูกขาด รัฐจะต้องเข้าแทรกแซงเพื่อเพิ่มการแข่งขันและแก้ไขปัญหาตลาดล้มเหลว โดยรัฐอาจจจะใช้วิธี
ออกกฎหมายแข่งขันทางการค้าเพื่อเข้าควบคุมและก ากับการแข่งขันในตลาดนั้น ๆ
ประการที่สอง สินค้าสาธารณะ (Public goods) สินค้าสาธารณะเป็นสินค้าที่มี
ลักษณะสองประการร่วมกัน กล่าวคือ เป็นสินค้าที่เมื่อบริโภคโดยคนหนึ่งคนแล้วไม่หมดสิ้นไป ผู้บริโภคคนอื่น
ยังสามารถบริโภคสินค้าเดียวกันได้อีก และ เมื่อสินค้าถูกจัดสรรแล้วผู้บริโภคไม่สามารถเลือกที่จะไม่บริโภค
สินค้านั้นได้ เช่น ระบบป้องกันประเทศ
ลักษณะเฉพาะของสินค้าสาธารณะที่ร่วมกันบริโภคได้และเมื่อจัดสรรแล้วไม่สามารถ
ปฏิเสธการบริโภคได้ท าให้ความต้องการสินค้าสาธารณะของผู้บริโภคนั้นไม่ได้มีผลต่อราคาและแรงจูงใจในการ
ผลิตหรือให้บริการ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่าปัญหาการฉกฉวยโอกาส (Free Riding) ดังนั้น
หากปล่อยให้กลไกตลาดด าเนินการโดยไม่มีการแทรกแซง การผลิตหรือให้บริการสินค้าสาธารณะจะลดลง
เพราะผู้ผลิตขาดแรงจูงใจในการผลิต ดังนั้นแล้วเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการผลิตสินค้าสาธารณะ รัฐอาจเข้า
แทรกแซงโดยการจ่ายเงินสนับสนุน (subsidy) ให้ผู้ผลิต นอกจากนี้เนื่องจากสินค้าสาธารณะเป็นสินค้าที่มีการ
บริโภคร่วมกันในคนหมู่มาก สินค้าสาธารณะอาจเป็นเหตุผลให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเพื่อดูแลคุณภาพของสินค้า
สาธารณะในสังคมได้อีกด้วย
2 Anthony Ogus, Regulation: Legal Form and Economic Theory, (Oxford : Clarendon Press, 1996), pp.29.