Page 193 - kpiebook65020
P. 193
154
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ประการที่สาม การเกิดผลกระทบภายนอก (Externalities) เกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิตได้
สร้างต้นทุนให้กับบุคคลที่สามต้องแบกรับ และต้นทุนนั้นไม่ถูกรวมอยู่ในต้นทุนการผลิตของผู้ผลิต ดังนั้นต้นทุน
ของผู้ผลิตจึงไม่สอดคล้องกับต้นทุนแท้จริงที่สังคมต้องแบกรับ ก่อให้เกิดภาวะตลาดล้มเหลว ภาวะตลาด
ล้มเหลวจากปัญหาผลกระทบภายนอกในบางกรณีนี้นั้นสามารถแก้ไขได้ผ่านกฎหมายเอกชน เช่น การท า
สัญญาหรือการฟ้องร้องละเมิด แต่ในหลายกรณีปัญหาจากผลกระทบภายนอกอาจเป็นปัญหาที่มีผลร้ายรุนแรง
เช่น การปล่อยให้โรงงานปล่อยสารพิษท าลายระบบนิเวศน์ในอนาคต เมื่อผลร้ายที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มจะเกิดขึ้น
ในอนาคต กฎหมายเอกชนที่ไม่มีผลเข้าไปจัดการสิทธิของบุคคลในอนาคตจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาจาก
ผลกระทบภายนอกได้ ดังนั้นรัฐจึงจ าเป็นจะต้องเข้าไปแทรกแซงแทนที่จะปล่อยให้เอกชนจัดการ
ประการที่สี่ ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล (Information Deficits) กลไกตลาดจะ
ด าเนินการได้ดีหากผู้ซื้อในตลาดมีข้อมูลในการเลือกซื้อสินค้าอย่างครบถ้วน ดังนั้นแล้วภาวะตลาดล้มเหลวอาจ
เกิดขึ้นได้เมื่อผู้ซื้อได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนเกี่ยวกับสินค้าหรือตัวเลือกอื่น ๆ ที่มีตลาดเพื่อประกอบการตัดสินใจ
นอกจากนี้ในหลายครั้งผู้ซื้อแม้จะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนแล้วก็อาจจะไม่ได้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากข้อมูลที่
ได้มาอย่างสมเหตุสมผล (Bounded Rationality) ดังนั้นความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลและการไม่ใช้เหตุผลอย่าง
สมเหตุผลของผู้ซื้ออาจน าไปสู่ภาวะตลาดล้มเหลวและรัฐอาจจะต้องเข้าแทรกแซงเพื่อแก้ปัญหา
ประการที่ห้า ปัญหาการประสานงาน (Co-ordination Problems) ปัญหาการ
ประสานงานเกิดขึ้นเมื่อผู้คนในสังคมไม่สามารถตกลงประสานงานกันในเรื่องบางเรื่อง จ าเป็นจะต้องมีรัฐเข้ามา
แทรกแซงเพื่อแก้ปัญหา เช่น ในการขับรถผู้คนต่างนึกเพียงการขับรถไปให้ถึงจุดหมาย และต่างก็ไม่เห็นความ
แตกต่างระหว่างการขับรถพวงมาลัยข้างซ้ายหรือข้างขวา อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถขับรถได้อย่างมี
ประสิทธิภาพมากที่สุดจ าเป็นจะต้องมีรัฐเข้ามาก าหนดว่าทุกคนควรขับรถข้างใด
(2) การเพิ่มประโยชน์ในทางที่นอกเหนือจากเศรษฐศาสตร์
นอกจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะล้มเหลวของกลไกตลาดที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว รัฐ
อาจเข้าแทรกแซงการท างานของตลาดเพื่อประโยชน์อื่น ๆ นอกเหนือจากประโยชน์จากเศรษฐศาสตร์ได้
เช่นเดียวกัน เช่น
(1) เหตุผลเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรและความยุติธรรม
(2) เหตุผลเกี่ยวกับการปกป้องและคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน(Paternalism)
(3) คุณค่าอื่น ๆ ในสังคม
1.1.1.3 รูปแบบการก ากับดูแลและการออกกฎ
หลังจากสรุปได้ว่าระบบกลไกตลาดไม่สามารถท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิด
ภาวะตลาดล้มเหลว หรือมีเหตุปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้รัฐต้องเข้าไปแทรกแซงหรือก ากับดูแล การออกกฎเข้ามา
บังคับควบคุมไม่ใช่ทางเลือกเดียวของการแทรกแซงกลไกตลาด แท้จริงแล้วยังมีรูปแบบการก ากับดูแลอีก
มากมายที่มีและรัฐสามารถเลือกใช้รูปแบบการก ากับดูแลเหล่านี้ได้แทนการออกกฎ โดยข้อได้เปรียบขอการใช้
รูปแบบการก ากับดูแลทางเลือกเหล่านี้คือความรวดเร็วในการด าเนินการและบังคับใช้ รูปแบบการก ากับดูและ
และการออกกฎมีดังต่อไปนี้