Page 196 - kpiebook65020
P. 196

157
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                                     (7) การเปิดเผยข้อมูล (Information Disclosure)

                                     เนื่องจากข้อมูลนั้นมีคุณลักษณะเป็นสินค้าสาธารณะในตัวเอง กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภค
               บริโภคแล้วข้อมูลนั้นไม่หมดสิ้นไป และ เมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะแล้วทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

               ไม่มีใครสามารถถูกกีดกั้นไม่ให้รับรู้ข้อมูลได้ ดังนั้นแล้วการเปิดเผยข้อมูลจึงมีต้นทุนที่ไม่คุ้มค่าในสายตาของ
               ผู้ผลิต ผู้ผลิตจึงมักเลือกจะไม่เปิดเผยข้อมูล เมื่อผู้ผลิตไม่มีแรงจูงใจในการเปิดเผยข้อมูล ผู้บริโภคในตลาดจึงไม่
               สามารถรวบรวมข้อมูลได้มากว่าเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและน าไปสู่ภาวะตลาดล้มเหลว ดังนั้นแล้วการ
               เปิดเผยข้อมูลจะท าให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจเพิ่มขึ้นและรอบด้าน น าไปสู่การแก้ไขภาวะตลาด

               ล้มเหลวได้ในที่สุด

                                     (8) การสร้างแรงจูงใจ (Incentive based regulation)

                                     การสร้างแรงจูงใจให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในตลาดด าเนินกิจการของตนให้มี
               ประสิทธิภาพมากที่สุดเป็นอีกวิธีในการแก้ไขภาวะตลาดล้มเหลว โดยการสร้างแรงจูงใจนี้จะท าในรูปแบบของ
               กฎที่สร้างจูงใจหรือเป็นนโยบายที่ไม่จ าเป็นต้องมีสถานะเป็นกฎก็ได้ วิธีการสร้างแรงจูงใจที่ง่ายที่สุดคือการให้
               รางวัลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพแทนการลงโทษพฤติกรรมที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น แทนที่จะ

               แก้ปัญหาโรงงานผลิตน้ าเสียที่ไม่ได้สนใจผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการออกกฎให้โรงงานเสียค่าปรับ อาจใช้
               การให้รางวัลกับโรงงานที่มีระบบการดูแลบ าบัดน้ าที่ดีเพื่อสร้างส่งเสริมกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพและสร้าง
               แรงจูงใจทางอ้อมให้โรงงานที่ไม่บ าบัดน้ าเปลี่ยนพฤติกรรม

                                     (9) การตัดสินใจไม่ด าเนินการ (Doing Nothing)

                                     การตัดสินใจไม่ด าเนินการ คือ การไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการด าเนินการของตลาดใน

               ขณะนั้น โดยการตัดสินใจไม่ด าเนินการควรเกิดจากการศึกษาและวิเคราะห์ทางเลือกการก ากับดูแลอย่างถี่ถ้วน
               แล้วเท่านั้น หากท้ายที่สุดการเข้าไปแทรกแซงหรือก ากับดูแลการด าเนินการของตลาดท าให้ปัญหาที่ต้องการ
               จะแก้แย่ลง หรือ ส่งผลร้ายต่อสังคมโดยรวมมากกว่าผลดี การตัดสินใจไม่ด าเนินการจะกลายเป็นทางเลือกใน
               การแก้ปัญหาที่มีต้นทุนถูกสุดและเป็นการก ากับดูแลที่ควรเลือกใช้
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201