Page 198 - kpiebook65020
P. 198

159
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                                     (2)  ต้นทุนในการท าตามกฎหมาย (Compliance  Costs) ต้นทุนในการท าตาม
               กฎหมายคือต้นทุนของผู้อยู่ใต้บังคับของกฎ ไม่ว่าจะเป็นประชาชน ผู้มีส่วนร่วมบางกลุ่มหรือองค์กรของรัฐเอง

               ในการท าตามกฎ เช่น ต้นทุนในการขอใบอนุญาตตามกฎหมาย ต้นทุนในการเตรียมเอกสารเพื่อจดทะเบียน

                                     (3)  ต้นทุนทางอ้อม (Indirect  Costs) ซึ่งถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสในการน า
               ทรัพยากรที่ใช้ในการออกกฎไปท าประโยชน์อื่น ๆ ต้นทุนในการออกกฎเหล่านี้รวมไปถึงความโปร่งใส
               ตรวจสอบได้ของประชาชนต่อการใช้งบประมาณด้วย

                              1.1.1.5 ภาวะกฎล้มเหลว (Regulatory Failure)

                              แม้ว่าการเข้าไปแทรกแซงของรัฐไม่ว่าจะด้วยการออกกฎหรือใช้เครื่องมือในการควบคุมจะ
               ช่วยแก้สภาวะตลาดล้มเหลว ก็ไม่ได้หมายความว่าการเข้าแทรกแซงจะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกครั้ง ยิ่งไปกว่า

               นั้นการออกฎหรือการแทรกแซงของรัฐเองอาจก่อให้เกิดปัญหาใหม่ตามมา โดยการแทรกแซงหรือการออกกฎ
               ที่ก่อให้เกิดผลร้ายเรียกว่า ภาวะกฎล้มเหลว (Regulatory Failure)

                              ค าว่า “ภาวะกฎล้มเหลว”  จะกล่าวถึงภาวะที่การอออกกฎน าไปสู่ปัญหาหรือเกิดผลร้าย
                                                                                                10
               ตามแต่ แต่ก็ไม่มีค านิยามที่ชัดเจนแน่นอนว่าสภาวะแบบใดบางที่จัดว่าเป็นภาวะกฎล้มเหลว   นั่นเป็น
               เพราะว่าภาวะกฎล้มเหลวนั้นสามารถเกิดได้จากหลายหลายรูปแบบและจากหลากหลายปัจจัย  อาจเกิดได้ใน
               ขั้นการระบุปัญหาที่ผิดพลาด การตัดสินใจเลือกรูปแบบการออกกฎที่ผิดพลาดไปจนถึงปัญหาของการจัดสรร
               งบประมาณและการบังคับใช้ที่ไม่ก่อให้เกิดผลดีตามที่ผู้ออกกฎตั้งใจไว้ อย่างไรก็ตาม มีการพยายามจัดรูปแบบ
                                                                            11
               ของภาวะกฎล้มเหลวอย่างคร่าว ๆ ตามสาเหตุที่น าไปสู่ภาวะกฎล้มเหลว  ทั้งนี้สาเหตุที่อาจน าไปสู่ภาวะกฎ
               ล้มเหลวอาจมีดังต่อไปนี้


                                     (1) การออกกฎเพื่อแก้ปัญหาอาจน าไปสู่ค่าเสียโอกาสจากการมีกฎ
                                     การออกกฎถือเป็นการเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดและเสรีภาพของประชาชนในการ

               เลือกที่จะด าเนินชีวิต ดังนั้นแม้ว่าการเข้าแทรกแซงของรัฐจะสามารถรับรองได้ว่าเป็นการแก้ไขภาวะตลาด
               ล้มเหลวหรือเพื่อสาเหตุอื่น ๆ นอกเหนือจากเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ การออกกฎก็มีต้นทุนในตัวเอง การ
               บังคับให้ประชาชนต้องท าตามกฎท าให้ประชาชนต้องแบกรับค่าเสียโอกาสในการใช้เสรีภาพด าเนินชีวิตในทาง
                  12
               อื่น

                                     (2) ผู้ออกกฎไม่เข้าใจพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ภายใต้การก ากับ

                                     จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น แม้ว่าผู้คนที่เกี่ยวข้องจะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนแต่ในหลาย
               ครั้งก็ผู้คนอาจไม่ได้ตัดสินใจอย่างสมหตุสมผล (bounded  rationality)  ดังนั้นในหลาย ๆ ครั้งผู้ที่อยู่ภายใต้
               ก ากับของกฎอาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างสมเหตุสมผลหรือตามการคาดคะเนของผู้ออกกฎ





               10   Martin  Lodge,  “Managing  Regulatory  Failures,”  London  School  of  Economics,  (2015) accessed  11
               September 2020, from https://www.lse.ac.uk/accounting/assets/CARR/documents/Regulators-Forum/4.pdf.
               11  Ibid.
               12  ดู ต้นทุนในการก ากับดูแลและออกกฎ
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203