Page 207 - kpiebook65020
P. 207
168
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถขององค์กรภาครัฐในการออกแบบ จัดท าและดูแลการใช้กฎและ
นโยบายในท้ายที่สุด ดังนั้นแล้วคุณค่าที่แท้จริงของ RIA จึงไม่สามารถวัดได้ในรายงานเพียงฉบับเดียว แต่จะ
วิเคราะห์จากคุณภาพและความสามารถขององค์กรที่จะค่อยๆสะสมเพิ่มพูนขึ้นผ่านการท า RIA ในระยะยาว
1.1.4.2 แนวทางของประเทศพัฒนาแล้ว
วิธีการในการด าเนินการวิเคราะห์ผลกระทบก็แตกต่างกันออกไปในประเทศต่าง ๆ เช่น ใน
ประเทศสหรัฐอเมริกาจะใช้วิธีการวิเคราะห์และผลประโยชน์ โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องศึกษาผลกระทบจาก
การออกกฎหมายแล้วใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ช่วยค านวณต้นทุนผลกระทบต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลข
อย่างชัดเจน ร่างกฎหมายใดที่หลังจากค านวณแล้วมีค่าของผลประโยชน์มากกว่าต้นทุนจะถือว่าผ่านการ
วิเคราะห์ผลกระทบและอาจจะถูกยกร่างกลายเป็นกฎหมายต่อไป ในทางตรงข้าม ตาม สหภาพยุโรป พิจารณา
ผลกระทบในหลายด้านแยกออกจากกัน (Multi-Criteria Analysis) ประเทศกลุ่มสเกนดิเนเวียและ
ออสเตรเลีย ที่เลือกใช้วิธีการวิเคราะห์ที่เรียกว่า หลักการค านวณภาระในการปฏิบัติตามกฎหมาย (Standard
Cost Model) โดยวิธีการนี้จะวิเคราะห์ภาระของประชากรในการท าตามร่างกฎหมายที่ถูกเสนอเปรียบเทียบ
กับภาระของประชากรหากไม่มีการร่างกฎหมายใหม่ เมื่อหน่วยงานของรัฐทราบข้อมูลของภาระของประชาชน
33
ที่เพิ่มขึ้นก็จะต้องน าข้อมูลนี้ไปวิเคราะห์ร่วมกันข้อมูลอื่นๆเพื่อน าไปสู่การตัดสินออกกฎหมายต่อไป
1.1.4.3 แนวทางของประเทศก าลังพัฒนา
ส าหรับประเทศก าลังพัฒนามีงานวิจัยระบุว่าประเทศมีรายได้ปานกลางในกลุ่ม OECD อย่าง
34
เกาหลีใต้และเม็กซิโก มีความพยายามในการจัดท า RIA โดยมีการจัดท ากฎหมายและจัดตั้งองค์กรขึ้นมา
รับผิดชอบการจัดท า RIA อย่างต่อเนื่อง เกาหลีใต้ใช้วิธีการวิเคราะห์ที่อ้างอิงมาจาก OECD Checklist และ
35
วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ นอกจากนี้แล้ว ในปี 2015 เกาหลีใต้ได้ริเริ่มใช้วิธีการ Cost-In
Cost-Out (CICO) เพื่อใช้ควบคุมไม่ให้การออกกฎโดยรวมมีต้นทุนมากกว่าผลประโยชน์ ส่วนในประเทศก าลัง
พัฒนากลุ่มรายได้น้อยส่วนใหญ่แม้จะรับเอาแนวคิดการจัดท า RIA เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกรอบคิดของการร่าง
36
กฎหมายแต่ก็ไม่มีการจัดท าระเบียบวิธีส าหรับการวิเคราะห์อย่างชัดเจน
33
ใจใส วงส์พิเชษฐ, “Standard Cost Model: แบบการค านวณภาระในการปฏิบัติตามกฎหมาย,” กองพัฒนากฎหมาย
ส านักงานกฤษฎีกา, (2562) สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563, จาก https://lawreform.go.th/uploads/files/ 1520327
367-oz7k5-aldar.pdf?fbclid=IwAR23WhntMAtCjD6dgNlZUn8RQXUkcdgEQ1NAZdOARXX_7_BSLMUZa LrZLdg
34
เพิ่งอ้าง.
35
ใจใส วงส์พิเชษฐ และสัจจรัตน์ พิชิตปัจจา, “การพัฒนาคุณภาพของกฎหมายในประเทศเกาหลีใต้,” กองพัฒนากฎหมาย
ส านักงานกฤษฎีกา, (2562) สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563, จากhttp: //web.krisdika.go.th/dat/outsitedat/article
77/file77/f14.pdf
36 . Peci and Sobral, “Regulatory Impact Assessment: How political and organizational forces influence its
diffusion in a developing country,”,Regulation & Governance, Vol 5, pp. 204-220 (2011).