Page 210 - kpiebook65020
P. 210

171
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

               ตาม บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายทางเลือกแต่ไม่ได้อยู่ในตลาด เช่น ผู้คนที่เดินทางบนท้องถนน หรือ
               ผู้ให้บริการรถขนส่งสาธารณะ ต้นทุนและผลประโยชน์ของพวกเขาจะสามารถถูกระบุได้ผ่านการสังเกต

               พฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องแล้วจึงใช้ปรับหาต้นทุนและผลประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับจากการออก
               นโยบาย

                                            ในทางปฏิบัติแล้ว ประโยชน์และต้นทุนที่ส าคัญๆในการค านวณ CBA อาจ
               ไม่สามารถถูกเปลี่ยนเป็นจ านวนเงินได้ ในกรณีนี้ผู้ออกกฎอาจเลือกท า CBA  เพียงบางส่วน (Partial  CBA)
               แทนที่จะจัดท า CBA อย่างเต็มรูปแบบ (Full CBA) โดยการท า CBA เพียงบางส่วนนั้นจะค านวณตัวเลขต้นทุน

               และประโยชน์ในต้นทุนและประโยชน์ที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นตัวเลขได้เท่านั้น ส่วนต้นทุนและประโยชน์ที่ไม่
               สามารถเปลี่ยนเป็นจ านวนเงินได้ก็แยกออกไปพิจารณาต่างหาก โดยอาจมีการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อบรรยายถึง
               ลักษณะของต้นทุนและประโยชน์เหล่านั้น เพื่อให้การบรรยายลักษณะและประเมินความส าคัญของต้นทุนและ
                                                                                     40
               ประโยชน์ด าเนินไปอย่างเป็นระบบ อาจมีการจัดท า Checklist ขึ้นมาเพื่อใช้วิเคราะห์

                                     (4) หา Net Present Value (NPV) แต่ละทางเลือก
                                     Net Present Value (NPV) คือ การค านวณผลลัพธ์ของต้นทุนและประโยชน์ที่เกิด

               จากการใช้นโยบายทางเลือก พร้อมถึงค านวณหาผลลัพธ์ที่อาจลดหรือเพิ่มขึ้นตลอดช่วงระยะเวลาในการใช้
               นโยบาย

                                     (5) ตัดสินใจเลือกหนทางที่ให้ NPV สูงสุด

                                     1.2.1.2 การวิเคราะห์ราคาคุ้มทุน (Break-Even Analysis)

                                     การวิเคราะห์ราคาคุ้มทุน หรือ Break-Even Analysis (BEA) เป็นการวิเคราะห์ถึง
               ต้นทุนและผลประโยชน์ของแต่ละนโยบายเหมือนกับการวิเคราะห์แบบ CBA  แต่แทนที่จะน าต้นทุนและ
               ผลประโยชน์มาเปรียบเทียบกับ BEA  จะเลือกนโยบายที่คุ้มต้นทุนที่สุด ตัวอย่างเช่น ในการบังคับกฎหมาย

               ฉบับหนึ่งมีต้นทุน 10 ล้านบาท หากกฎหมายฉบับนั้นสามารถสร้างผลประโยชน์ได้ตั้ง 10 ล้านบาทขึ้นไป ก็ถือ
               ว่ากฎหมายฉบับนั้นมีความคุ้มทุนและควรน าไปบังคับใช้ ในการค านวณ BEA  นั้นไม่จ าเป็นจะต้องค านวณ
               ผลประโยชน์ของนโยบายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งหมด หากค านวณผลประโยชน์ไปได้จ านวนหนึ่งแล้ว

               ผลประโยชน์มากกว่าต้นทุนแล้ว นโยบายนั้นจะมีความคุ้มทุนตาม BEA ทันที

                                     1.2.1.3 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพต้นทุน (Cost-Effectiveness Analysis)

                                     การวิเคราะห์ ประสิทธิภาพต้นทุน หรือ Cost-Effectiveness Analysis (CEA) เป็น
               การค านวณว่านโยบายทางเลือกใดสามารถบรรลุเป้าหายได้โดดีต้นทุนต่อหน่วยต่ าที่สุด CEA  เป็นค านวณ
               อัตราส่วนระหว่างต้นทุนและผลประโยชน์ตามสูตรการค านวณ CEA  =  cost  (ต้นทุน) / benefit
               (ผลประโยชน์) CEA นั้นคล้ายกับการวิเคราะห์ BEA รวมถึงมีข้อดีและข้อเสียที่เหมือนกัน






               40   OECD,  “Introductory  Handbook  for  Undertaking  Regulatory  Impact  Analysis  (RIA),”  OECD,  (2008)
               accessed 11 September 2020, from https://www.oecd.org/gov/regulatory-policy/44789472.pdf.
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215