Page 204 - kpiebook65020
P. 204

165
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                                     (1) การก าหนดปัญหา

                                     ขั้นตอนนี้มักเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่จะต้องมีการระบุและอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น โดย
               จะต้องมีการอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันรวมถึงระบุสาเหตุและผลกระทบของปัญหาให้ นอกจากนี้ ยังต้องมีการ
                                                            27
               ก าหนดความรุนแรงของปัญหาที่ต้องการจะแก้อีกด้วย  โดยความรุนแรงของปัญหาอาจขึ้นอยู่กับมาตรวัดที่ผู้
               ออกกฎหมายเลือกใช้ เช่น จ านวนกลุ่มประชากรที่จะได้ความเดือดร้อน ช่วงระยะเวลาของปัญหาว่าชั่วคราว
               หรือถาวร และลักษณะของความรุนแรงของปัญหา เป็นต้น

                                     (2) ก าหนดวัตถุประสงค์

                                     หลังจากระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขได้แล้ว ขั้นต่อไปในการจัดท า RIA  คือ การ
               ก าหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการที่รัฐจะเข้าไปแทรกแซง โดยการก าหนดวัตถุประสงค์จะก าหนด

               ขอบเขตของรัฐในการด าเนินการแก้ไขปัญหา ในการก าหนดวัตถุประสงค์จะต้องค านึงถึงปัจจัยตามหลักการ
                        28
               S.M.A.R.T
                                            S = Specific (เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจง)

                                            M = Measurable (วัดผลได้)

                                            A = Assignable (ก าหนดกลุ่มบุคคลและเรื่องที่จะด าเนินการอย่างชัดเจน)

                                            R = Relevant (สอดคล้องกับสาเหตุของปัญหา)

                                            T = Time-related (มีก าหนดเวลาชัดแจ้ง)

                                     (3) ก าหนดทางเลือกนโยบาย

                                     เมื่อระบุปัญหาและวัตถุประสงค์ได้แล้ว รัฐจะต้องเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา
               รวมไปถึงก าหนด Baseline Scenario ที่จะใช้เป็นฐานในการเปรียบเทียบนโยบายทางเลือกอื่น ๆ

                                            (3.1) Baseline Scenario

                                            Baseline Scenario คือ สถานการณ์ที่รัฐไม่เข้าไปแทรกแซงและปล่อยให้

               ปัญหาที่ระบุไว้ในขั้นตอนแรกด าเนินต่อไป การคาดการณ์ Baseline Scenario สามารถท าได้หลายวิธี เช่น

                                            (1) พิจารณาจากกรณีที่แย่ที่สุด

                                            (2) พิจารณาจากกรณีที่ดีที่สุด

                                            (3) พิจารณาโดยใช้มาตรฐานระดับวิญญูชน
                                                                             29
                                            (4) พิจารณาจากข้อมูลทางสถิติที่ผ่านมา




               27  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 21, น.55.
               28  เพิ่งอ้าง.
               29  เพิ่งอ้าง.
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209