Page 205 - kpiebook65020
P. 205

166
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                                            (3.2) การก าหนดนโยบายทางเลือก

                                            การก าหนดนโยบายทางเลือกคือการก าหนดถึงวิธีการต่าง ๆ ที่รัฐจะเข้าไป
               แทรกแซง ไม่ว่าจะเป็นการออกกกฎหรือวิธีการอื่น ๆ ตามที่ได้ระบุไปในหัวข้อ 1.1.3

                                     (4) ประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบแต่ละทางเลือก

                                     ก่อนจะท าการประเมินและวิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทาง จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูล

               เสียก่อน โดยข้อมูลนั้นอาจมาจากการค้นคว้าวิจัย (Research) การทบทวนวรรณกรรม (literature review)
               การศึกษาประสบการณ์จากต่างประเทศ (foreign experience) การส ารวจ (Survey) การท าแบบสอบถาม
               (questionnaire)  การจัดสัมมนา (seminar)  จากการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง  (public
               consultation) รวมไปถึงการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผู้เป็นบุคคลภายนอก (expert consultation) ในการจัดเก็บ

               ข้อมูลนั้นหน่วยงานจะต้องค านึงถึงข้อจ ากัดด้านความสามารถ ต้นทุนและทรัพยากรของหน่วยงานด้วย
               อย่างไรก็ตามการขาดข้อมูลหรือความสามารถในการเก็บข้อมูลไม่ได้ท าในการจัดท า RIA  เกิดขึ้นไม่ได้เสียเลย
               หากในท้ายที่สุดหน่วยงานยังสามารถตั้งค าถามที่ถูกกับบุคคลที่ถูก (right  questions  to  the  right
                       30
               people)

                                     (5) เปรียบเทียบทางเลือก
                                     การเปรียบเทียบทางเลือกคือการน านโยบายทางเลือกทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อหา
                                                                                        31
               นโยบายที่ดีที่สุด ในขั้นตอนนี้อาจต้องน าเทคนิคการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วย

                                     (6) ก าหนดแนวทางในการประเมินตรวจสอบ

                                     หลังเปรียบเทียบทางเลือกและตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดออกมาได้แล้ว การ
               จัดท า RIA ควรระบุต่อไปถึงวิธีการตรวจสอบผลลัพธ์จากการด าเนินการตามตัวเลือกดังกล่าวในอนาคต

                       1.1.4 แนวทางการจัดท า RIA ของ OECD และต่างประเทศ

                       ในหัวข้อนี้ เป็นการอธิบายแนวทางการจัดท า RIA  ของ OECD  ซึ่งเป็นต้นแบบของประเทศต่าง ๆ
               รวมถึงประเทศไทยด้วย ตลอดจนอธิบายทางการจัดท า RIA  ของประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่ก าลัง

               พัฒนาตามล าดับ

                              1.1.4.1 แนวทางของ OECD
                                                           32
                              จากคู่มือการจัดท า RIA ของ OECD  แนวทางการจัดท า RIA มีรากฐานมาจากความเข้าใจ
               เกี่ยวกับสวัสดิการสาธารณะ (Social  Welfare)  โดยการออกกฎนั้นจะสามารถกระท าได้หากเป็นการเพิ่ม
               ประโยชน์สาธารณะของทุกคนในสังคมแทนที่จะเป็นการเพิ่มประโยชน์ให้กับคนเพียงบางกลุ่ม ดังนั้นแล้วการ
               ออกกฎจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าการออกกฎนั้นจะให้ประโยชน์กับสังคมมากกว่าสร้างต้นทุนให้



               30  เพิ่งอ้าง, น.44.
               31  ดูเพิ่มเติม ในหัวข้อ เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์
               32   OECD,  “Introductory  Handbook  for  Undertaking  Regulatory  Impact  Analysis  (RIA),”  OECD,  (2008)
               accessed 11 September 2020, from  https://www.oecd.org/gov/regulatory-policy/44789472.pdf.
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210