Page 211 - kpiebook65020
P. 211

172
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                                     1.2.1.4 การวิเคราะห์แบบพิจารณาหลายเกณฑ์ (Multi-Criteria Analysis)

                                     การวิเคราะห์แบบพิจารณาหลายเกณฑ์ หรือ Multi-Criteria Analysis (MCA) เป็น
               การวิเคราะห์ที่มีการแสดงเหตุผลเชิงตัวเลขน้อยที่สุด กล่าวคือ แทนที่จะค านวณหาต้นทุนและผลประโยชน์

               เพื่อวิเคราะห์เหมือนการวิเคราะห์อื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น MCA  เป็นการวิเคราะห์โดยการให้คะแนนถ่วงกับ
               ข้อดีและข้อเสียจากนโยบายแต่ละนโยบายจากนั้นจึงค านวณคะแนนที่ได้ในแต่ละนโยบายเพื่อเปรียบเทียบกัน
               MCA นั้นแทบจะไม่ใช้ข้อมูลเชิงตัวเลขในการค านวณเลย ดังนั้นจึงสามารถน าไปปรับใช้กับนโยบายที่มีต้นทุน
               และผลประโยชน์ที่ค านวณออกมาเป็นตัวเลขได้ยากหรือขาดข้อมูล อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์แบบ MCA นั้น

               มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุดในบรรดาการวิเคราะห์ทั้งหมดเนื่องจากไม่ได้มีการให้เหตุผลเชิงประจักษ์
               เช่นเดียวกันการวิเคราะห์

                                     1.2.1.5 การค านวณภาระในการปฏิบัติกฎหมาย (Standard Cost Model)

                                     การค านวณภาระในการปฏิบัติกฎหมาย หรือ Standard Cost Model (SCM) ไม่
               ใช้วิธีการคิดถึงต้นทุนหรือผลประโยชน์จากนโยบายทางเลือกแต่จะพิจารณาเฉพาะต้นทุนการท าตามกฎหมาย
               (Compliance Cost) ของผู้ที่ต้องท าตามนโยบายดังกล่าวเท่านั้น แล้วจึงเลือกนโยบายที่มีต้นทุนในการปฏิบัติ

               ตามต่ าที่สุดหรือน าตัวเลขที่ค านวณได้มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตตัดสินใจเลือกนโยบายที่มีความสอดคล้อง
                                                                 41
               กับการแก้ปัญหาและไม่สร้างภาระให้กับประชาชนมากเกินไป  การหาต้นทุนในการปฏิบัติตามค านวณมาจาก
               ระยะเวลาและราคาต้นทุนที่ประชาชนต้องใช้ในการท าตามกฎหมาย เช่น การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท มี

               ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งคือค่าบริการจดทะเบียน ค่าเดินทางของผู้จด และมีจ านวนเวลาที่ต้องใช้คือ เวลาทั้งหมด
               ในการด าเนินการจดทะเบียน

                       จากการศึกษาเบื้องต้น เทคนิคทางเศรษฐศาสตร์นั้นมีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป การเลือกใช้ขึ้นกับ
               วัตถุประสงค์ ข้อจ ากัดทางข้อมูลหรือระยะเวลา รวมไปถึงความเชี่ยวชาญของผู้ออกกฎ โดยการค านวนวิธีการ
               ต่าง ๆ มีข้อดีและข้อเสียดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้
























               41  ใจใส วงส์พิเชษฐ, “Standard Cost Model: แบบการค านวณภาระในการปฏิบัติตามกฎหมาย”, กองพัฒนากฎหมาย
               ส านักงานกฤษฎีกา, (2562) สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563, จาก https :// lawreform .go.th/uploads/files
               /152032 7367-oz7k5-
               aldar.pdf?fbclid=IwAR23WhntMAtCjD6dgNlZUn8RQXUkcdgEQ1NAZdOARXX_7_BSLMUZaLrZLdg
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216