Page 208 - kpiebook65020
P. 208

169
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

               1.2. หลักการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

                       ในหัวข้อนี้ เป็นการศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และทางสังคมในการออกกฎหมาย
               โดยเริ่มจากการศึกษา (1) เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือทาง

               เศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ RIA  โดยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ต้นทุน (Cost)  และผลประโยชน์
               (Benefits) เป็นต้น และ (2) เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม

                              1.2.1 เทคนิคการประเมินผลกระทบทางเศษฐศาสตร์

                              ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่สามารถน ามาใช้ในด าเนินการในขั้นตอน
               การระบุและประเมินเพื่อเปรียบเทียบทางเลือกทางนโยบาย โดยหัวใจส าคัญของเทคนิคทางเศรษฐศาสตร์
               เหล่านี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขที่ได้จากวิเคราะห์ แต่คือการแสดงเหตุผลเชิงประจักษ์ (evidence-based)

               ประกอบการตัดสินใจคัดเลือกนโยบายเพื่อแก้ปัญหา ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคนิคที่ส าคัญในการวิเคราะห์ RIA
               ดังต่อไปนี้

                                     1.2.1.1 การวิเคราะห์ต้นทุน (Cost-Benefit Analysis)

                                     การวิเคราะห์ต้นทุน หรือ Cost-Benefit Analysis (CBA) เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้
               กันในการด าเนินการจัดท า RIA การใช้ CBA เริ่มต้นจากการค านวณต้นทุน (Cost) และ ประโยชน์ (Benefit)
               ของการด าเนินการนโยบายใด ๆ นโยบายหนึ่ง จากนั้นจึงน าจ านวนต้นทุนมาเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ของ

               แต่ละนโยบายเพื่อหักลบหาผลประโยชน์สุทธิ นโยบายใดที่มีผลประโยชน์สุทธิมากที่สุดหรือประโยชน์มากกว่า
               ต้นทุนมากที่สุดคือนโยบายที่รัฐควรด าเนินการ

                                     แม้ว่าการจัดท า CBA  จะมีทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์รับรองและเป็นการวิเคราะห์
               ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบของนโยบายแต่ละนโยบายอย่างรอบด้าน CBA  ก็มีข้อเสียที่ส าคัญนั้นคือ CBA
               ไม่ได้ค านึงถึงการกระจายรายได้หรือแบ่งปันทรัพยากรภายในสังคม นโยบายบางอย่างอาจมีผลประโยชน์

               มากกว่าต้นทุนและเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดตามค านิยามของ CBA แต่นโยบายนั้นอาจส่งเสริมให้
               คนกลุ่มเดียวในสังคมได้รับประโยชน์และคนส่วนใหญ่ต้องแบกรับต้นทุนของนโยบาย อาจกล่าวได้ว่านโยบาย
               นั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุดแต่ไม่ได้ค านึงการกระจายต้นทุนและผลประโยชน์ในสังคม

                                                                                            37
                                     การจัดท า CBA ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
                                     (1) ก าหนดทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา

                                     หลังจากระบุปัญหาในการจัดท า RIA  เรียบร้อยแล้ว รัฐจะต้องก าหนดนโยบาย

               ทางเลือกที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยทางเลือกควรเป็นทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา
               และควรมีอย่างน้อยสามทางเลือกเพื่อใช้เปรียบเทียบกับ Baseline  Scenario  อย่างไรก็ตาม รัฐควรค านึงถึง
               ต้นทุนที่เกิดจากการจัดท า CBA  ด้วย หากมีงบประมาณหรือเวลาที่จ ากัด ควรพิจารณาลดทางเลือกที่จะ








               37
                  กิตติพงศ์ แนวมาลี, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 19.
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213