Page 202 - kpiebook65020
P. 202

163
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

               ผลกระทบต่อมิติบางมิติของสังคมโดยจะเป็นมิติใดบ้างขึ้นอยู่กับการให้ความหมายในแต่ละประเทศแต่โดยทั่ว
                                                                                          19
               มักจะรวมถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคม เพศ สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและการกระจายรายได้ของรัฐ
                       RIA  นั้นไม่ได้มีรูปแบบหรือทฤษฎีที่ตายตัวแต่เป็นการบูรณาการความรู้เครื่องมือวิเคราะห์จาก
                                                       20
               หลากหลายศาสตร์เข้าด้วยกันเพื่อน าเสนอปัญหา  ทางเลือกในการแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการ
               แก้ปัญหาในแต่ละวิธี RIA ส่งเสริมการออกแบบกฎหรือนโยบายที่มีการสนับสนุนด้วยเหตุผลเชิงประจักษ์ผ่าน
                                                                            21
               การศึกษาวิจัยและการสอบถามผู้มีส่วนได้เสียกับกฎหรือนโยบายดังกล่าว  โดยจุดมุ่งหมายที่ส าคัญที่สุดของ
               RIA  นั้นไม่ใช่การลดการออกกฎหมายเสียอย่างเดียว แต่เพื่อให้แน่ใจว่ากฎหมายที่ออกมาจะส่งผลดีต่อสังคม

               โดยรวมมากกว่าผลเสีย ดังนั้นแล้วการจัดท า RIA มิได้สร้างกฎหมายที่ดีที่สุดแต่จะน าไปสู่การออกกฎหมายที่มี
                                                                            22
               ผลดีมากกว่าผลเสีย ผลเสียที่เกิดขึ้นนั้นก็ควรได้รับการบรรเทาหรือเยียวยา ไปพร้อมๆกันด้วย
                              1.1.3.1 ความหมายและหลักการ

                              OECD  ได้ให้ความหมายของ RIA  ว่าเป็นกระบวนที่ใช้ระบุและประเมินผลกระทบจากการ
               ออกกฎอย่างเป็นระบบ โดยต้องมีการใช้วิธีการในการวิเคราะห์  เช่น การวิเคราะห์ต้นทุน อย่างต่อเนื่อง โดย
               RIA นั้นคือกระบวนการเปรียบเทียบระหว่างเป้าหมายที่รัฐต้องการแทรกแซงกับนโยบายทางเลือกต่าง ๆ ที่ใช้

               ในการบรรลุเป้าหมายนั้น นโยบายทางเลือกทั้งหมดนั้นต้องถูกวิเคราะห์ประเมินด้วยวิธีการเดียวกันและผู้ออก
                                                                                                        23
               กฎต้องทราบถึงผลการวิเคราะห์ทั้งหมดก่อนจะตัดสินอย่างเป็นระบบเพื่อเลือกเฟ้นหานโยบายที่มีดีที่สุด
               กล่าวโดยย่อ RIA คือ กระบวนการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพและความคุ้มทุนในการออกกฎ RIA เป็นเครื่องมือ

               ที่ช่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบถึงประสิทธิภาพและความจ าเป็นในการออกกฎ ดังนั้น ผลของการ
               ประเมิน RIA  อาจไม่ได้น าไปสู่ข้อสรุปของการออกหรือไม่ออกกฎใดกฎหนึ่งโดยตรง แต่เพียงช่วยในการ
               ตัดสินใจออกกฎเท่านั้น ดังที่มีผู้สังเกตไว้ว่า “สิ่งส าคัญที่สุดที่ท าให้การตัดสินใจของรัฐบาลมีคุณภาพนั้นไม่ได้
               ความแม่นย าของการคิดค านวณแต่เป็นการถามค าถามที่ถูกต้อง การเข้าใจผลกระทบในความเป็นจริงและการ
                                24
               ค้นหาข้อสันนิษฐาน ” เพราะฉะนั้นความส าคัญของ RIA จึงไม่ได้อยู่ที่ผลการคิดวิเคราะห์แต่อยู่ที่ขั้นตอนการ




               19  Claire Dunlop and Claudio Radaelli, Handbook of Regulatory Impact Assessment, (Cheltenham: Edward
               Elgar Publishing,2016 ), p.14
               20  กิตติพงศ์ แนวมาลี,  “การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และทางสังคม,”  ในการบรรยาย หลักสูตรวุฒิบัตรการ
               วิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายประจ าปี พ.ศ. 2563, จัดโดยสถาบัน
               พระปกเกล้า, กรุงเทพ, 2563.
               21
                  Enabling Environment for Sustainable Enterprises, “How to use EESE toolkits,” Enabling Environment for
               Sustainable  Enterprises,  accessed  11 September  2020,  from  http://eese-toolkit.itcilo.org/index.php/en/
               toolkit /how-to-use-the-toolkit.html.
               22   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย,  “โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย,”กอง
               พัฒนากฎหมาย ส านักงานกฤษฎีกา (2557) สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563,  จาก https://www.lawreform.go.th
               /uploads /files/1574751600-5lkm1-ee09v.pdf น. 3.
               23
                   OECD,  “Introductory  Handbook  for  Undertaking  Regulatory  Impact  Analysis  (RIA),”  OECD,  (2008)
               accessed 11 September 2020, from  https://www.oecd.org/gov/regulatory-policy/4478 94 72.pdf p.3.
               24
                  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 21, น.21.
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207