Page 213 - kpiebook65020
P. 213

174
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                              4) ผลการประเมินผลกระทบทางสังคม สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาขีด
               ความสามารถเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการมากขึ้น

                                                                                45
                       การประเมินผลกระทบทางสังคมต้องด าเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                              ขั้นตอนที่ 1 การก าหนดปัญหา (Problem  definition)  หรือระบุปัญหาที่องค์กรต้องการ

               แก้ไข (Define Social Value Proposition)

                                     1) เริ่มต้นจากการเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory  of  change)  เพื่อสร้าง
               ความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมที่องค์กรจะท ากับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย (Target  group)
               ตัวอย่างเช่น ถ้าคนยากจนโดยเฉพาะสตรีมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้และบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับพวก
               เขาแล้วพวกเขาก็จะหลุดพ้นจากความยากจน

                                     2) เขียนห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) อธิบายว่าโครงการที่ท าต้องใช้อะไร

               ท า จะท าอะไร กิจกรรมต่าง ๆ จะสร้างและน าไปสู่ผลผลิตที่วัดผลได้อย่างไร และผลผลิตต่าง ๆ จะก่อให้เกิด
               การเปลี่ยนแปลงหรือผลลัพธ์ทางสังคมอย่างไร

                              ขั้นตอนที่ 2 การระบุผลลัพธ์ให้เป็นตัวเลข (Quantification) เป็นการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ที่
               เป็นนามธรรมให้เป็นค่าเชิงปริมาณโดยใช้ตัวชี้วัดทางสังคม (Social  Indicators)  ที่เลือกมาจากค่าที่บอกว่า
               ผลลัพธ์เกิดขึ้นหรือไม่ และเกิดขึ้นเท่าไหร่ ซึ่งต้องชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างจุดเริ่มต้นก่อนด าเนินโครงการ

               กับพัฒนาการหลังจากโครงการด าเนินไประยะหนึ่งแล้ว และต้องวัดได้ เปลี่ยนแปลงได้ ใช้เปรียบเทียบข้าม
               เวลาและองค์กรได้

                              ขั้นตอนที่ 3 การเก็บข้อมูลตัวชี้วัด (Data Collection) จากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

                                     1) ระบบเก็บข้อมูลภายใน ใช้ส าหรับผลผลิตส าคัญเป็นหลัก เช่น ค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วย
               ประหยัดได้

                                     2) แหล่งข้อมูลภายนอก ใช้ส าหรับผลลัพธ์ในวงกว้างเป็นหลัก เช่น คุณภาพอากาศ

                                     3) แบบส ารวจผู้มีส่วนได้เสีย (ส าหรับผลลัพธ์ต่อผู้มีส่วนได้เสียเป็นหลัก) ด้วยวิธีการ

               ต่าง ๆเช่น การเชิญผู้มีส่วนได้เสียมารวมตัวกันและสอบถามพวกเขาโดยตรง หรือโทรศัพท์ถึงตัวแทนกลุ่มผู้มี
               ส่วนได้เสียหลักและสอบถาม เป็นต้น

                       ทั้งนี้ หากน าการประเมินผลกระทบทางสังคมมาปรับใช้กับกระบวนการตรากฎหมาย การบังคับใช้
               กฎหมาย การตีความกฎหมาย จะก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่บวกต่อส่วนรวมเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในทาง
               ปฏิบัติการตรากฎหมายหน่วยงานผู้รับผิดชอบกฎหมายแต่ละฉบับ จะตรากฎหมายโดยมีกรอบคิดว่าสังคมควร

               จะต้องเป็นอย่างไร บางครั้งการตรากฎหมายกลับเกิดจากผลประโยชน์ทางการเมืองหรือการน าประสบการณ์
               ของต่างประเทศ มาเป็นตัวตั้งต้นแต่ไม่ได้ค านึงว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นไปตามความต้องการของสังคม
               หรือไม่ ไม่ได้ค านึงถึงผลกระทบว่าเจ้าหน้าที่ที่น ากฎหมายไปบังคับใช้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้จริงหรือไม่



               45  Schoolofchangmakers,  “สรุปกิจกรรมพัฒนาวัดผลลัพธ์ทางสังคม (SIA Workshop,” (13 กรกฎาคม 2560). สืบค้น
               เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563, จาก https://www.schoolofchangemakers.com/ knowledge /15788/
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218