Page 214 - kpiebook65020
P. 214

175
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

               ไม่ได้ค านึงถึงผู้ได้รับผลกระทบ (stakeholder)  จากการตรากฎหมายฉบับนั้น ๆ ฉะนั้น หากน าผลการ
               ประเมินผลกระทบทางสังคมมาเป็นหนึ่งในกรอบแนวความคิดในการตรากฎหมายประกอบกับมิติด้านอื่น ๆ

               อาจจะท าให้ปัญหาในทางปฏิบัติเหล่านี้หมดไป หรือลดปัญหาในการปฏิบัติได้



                              ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์
               ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย

                       เนื้อหาในส่วนที่ 2  นี้ จะประกอบไปด้วย (2.1) หลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
               กฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติ
               หลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (2.2) หลักเกณฑ์การ

               จัดท ารายงานวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (check list) และ (2.3) การตรวจสอบเนื้อหาใน
               การตรากฎหมายของประเทศไทย



               2.1 หลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์
               การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

                               46
                       มาตรา 77  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีเจตนารมณ์ในการก าหนด
               กรอบและหลักการส าคัญในการตรากฎหมาย ตามแนวคิดที่ว่าไม่ควรมีกฎหมายเกินความจ าเป็น และสร้าง
                                                               47
               หลักประกันให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับรู้ด้วยตั้งแต่ต้น  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ และมี
               ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนจากการออกกฎหมาย หรือสามารถ
               เสนอแนะแนวทางใหม่ ๆ ที่หน่วยงานของรัฐอาจนึกไม่ถึงได้ จึงก าหนดให้ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่



               46  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 77.
                  รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จ าเป็นและยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจ าเป็นหรือไม่สอดคล้องกับ
               สภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการด ารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนและ

               ด าเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
               ได้อย่างถูกต้อง
                  ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
               กฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และน ามา
               ประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผล
               สัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่ก าหนดโดย รับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุก

               ฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
                  รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จ าเป็น พึงก าหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของ
               เจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน และพึงก าหนดโทษ
               อาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง
               47  ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ความมุ่งหมายและค าอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
               ไทย พุทธศักราช 2560, (พฤษภาคม 2560), น.120.
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219