Page 215 - kpiebook65020
P. 215
176
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
เกี่ยวข้อง แล้วน าความคิดเห็นนั้นไปใช้ประกอบการตรากฎหมายในทุกขั้นตอน รวมถึงเพื่อแสดงให้เห็นว่า
กฎหมายนั้นมีความจ าเป็นต้องตราขึ้นอย่างแท้จริง จึงก าหนดให้ต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
กฎหมายในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ประโยชน์ที่จะได้รับจากการตรากฎหมายนั้น และภาระที่จะเกิดกับประชาชน
รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ประชาชนจะต้องเสียไปในการปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อวิเคราะห์ว่ากฎหมายนั้นมีความ
คุ้มค่าและมีความจ าเป็นอย่างแท้จริง ต่อมา หลักการของบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ถูกน ามาบัญญัติ
เป็นหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์
ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อก าหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายเพื่อก ากับมิ
ให้มีการตรากฎหมายในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือไม่สะดวกและสร้างขั้นตอนเกินความจ าเป็น
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. 2562 ก าหนดว่าเมื่อมีกรณีจ าเป็นต้องเสนอให้มีการตรากฎหมาย ให้หน่วยงานของรัฐแสดงเหตุผลความ
จ าเป็นในการตรากฎหมายและต้องวิเคราะห์โดยมีข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบชัดเจนว่า 1) ไม่เป็นการ
สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจ าเป็น 2) คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชน และ 3) ไม่สามารถใช้
48
มาตรการหรือวิธีการอื่นใดนอกจากการตราเป็นกฎหมาย และก าหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบ
ความจ าเป็นในการตรากฎหมาย ดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่จะต้องด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย
“กฎหมาย” ที่จะต้องด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายตามหลักเกณฑ์ตาม
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 คือ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย รวมถึง “กฎ” ตามกฎหมายว่า
ด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง บรรดาที่มีผลให้เกิดภาระแก่ประชาชน หรือการไม่ปฏิบัติตามจะมีผลให้ต้อง
ได้รับโทษหรือเสียสิทธิ หรือกระทบต่อสถานะของบุคคล กล่าวคือ ไม่ใช่กฎตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครองทุกฉบับจะต้องด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย แต่เฉพาะกฎที่มีผล
ให้เกิดภาระแก่ประชาชนหรือการไม่ปฏิบัติตามจะมีผลให้ต้องได้รับโทษหรือเสียสิทธิหรือกระทบต่อสถานะของ
49
บุคคลเท่านั้นที่จะต้องด าเนินการดังกล่าว
(2) หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย
หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายก็คือ หน่วยงานของรัฐที่
เสนอร่างกฎหมายนั่นเอง โดยหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หมายความถึงหน่วยงานที่เป็นของรัฐไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือในรูปแบบอื่นใด และไม่ว่าจะเป็นองค์กรในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่าย
50
ตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ
48 พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 12.
49 พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 3.
50 เพิ่งอ้าง.