Page 216 - kpiebook65020
P. 216

177
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                              (3) การรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

                              พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
               พ.ศ. 2562 ได้ก าหนดหลักเกณฑ์ในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนการตรากฎหมายเพื่อออกมา

               บังคับใช้กับประชาชน ซึ่งจะน าไปใช้ประกอบการจัดท ารายงานตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นใน
               การตรากฎหมาย (checklist)  และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมถึงการ
               พิจารณากฎหมายในขั้นตอนอื่น ๆ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้ก าหนดนิยามของ “องค์กรที่
               เกี่ยวข้อง” ว่าหมายถึงสมาคมหรือมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สภาหรือนิติบุคคล

               ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะที่ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบจากร่างกฎหมาย เพื่อที่
               หน่วยงานของรัฐที่เสนอร่างกฎหมายจะได้ด าเนินการรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการตรา
                             51
               กฎหมายนั้นด้วย
                              การรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนการตรากฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์

               การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จะต้องด าเนินการตามหลักเกณฑ์
               ดังต่อไปนี้

                              1) ก่อนการตรากฎหมายใดเพื่อบังคับใช้กับประชาชน หน่วยงานของรัฐจะต้องจัดให้มีการรับ
               ฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายนั้น โดยให้หน่วยงานของรัฐด าเนินการรับฟังความคิดเห็นผ่าน
                                                                        52
               ระบบกลาง และจะใช้วิธีการอย่างหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้ด้วยก็ได้
                                     (1) การรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้น

                                     (2) การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น

                                     (3) การสัมภาษณ์ หรือการเชิญให้เข้าร่วมชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็น

                                     (4) การส ารวจความคิดเห็น

                                     (5) วิธีการอื่นใดที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเหมาะสม

                              2) หน่วยงานของรัฐจะต้องน าหลักการหรือประเด็นส าคัญของร่างกฎหมายไปรับฟังความ

               คิดเห็น โดยต้องประกาศวิธีการรับฟังความคิดเห็น ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดในการรับฟังความคิดเห็น
                                                                    53
               รวมทั้งข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อยดังต่อไปนี้
                                     (1) สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายขึ้นเพื่อ
               แก้ไขปัญหาหรือท าภารกิจในเรื่องนั้น รวมทั้งความมุ่งหมายและผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์

                                     (2) ค าอธิบายหลักการหรือประเด็นส าคัญของร่างกฎหมายโดยใช้ภาษาที่เข้าใจได้
               ง่าย



               51  เพิ่งอ้าง.
               52  พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 13.
               53  พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 14 วรรค
               หนึ่ง.
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221