Page 220 - kpiebook65020
P. 220

181
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

               จะต้องทราบ เพื่อใช้ในการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย จะประกอบไปด้วย
               2  ส่วนที่ส าคัญ ได้แก่ (1) หลักการของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และ (2)

               แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย กล่าวคือ

                       2.2.1 หลักการของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย

                       หลักการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายของประเทศไทย ได้ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 77
               ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560  และมีพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมาย
               และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งก าหนดรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนและแนวทางใน
               การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตรากฎหมายไว้ โดยก าหนดให้มีการจัดท ารายงานการวิเคราะห์

               ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการตรวจพิจารณามาตรการในกฎหมาย ทั้งการใช้
               ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี
               พ.ศ. 2531 และมาตรการการก ากับดูแล เช่น การใช้ระบบอนุญาต,การใช้ระบบคณะกรรมการ และการ

               ก าหนดโทษอาญาใน Checklist  10 ประการ ออกมาเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในการ “ตรวจสอบเนื้อหาของร่าง
               กฎหมาย” ประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบที่หน่วยงานต้องจัดท าก่อนการเสนอร่างกฎหมาย

                       2.2.2 แนวทางการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย

                       แนวทางการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย สามารถแบ่งได้เป็น 2
               ส่วน คือ (1) เหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และ (2) เหตุผล
               ความจ าเป็นในการใช้ระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการ การก าหนดโทษอาญา และหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจ
               ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนี้


                              2.2.2.1 การรายงานเหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
               จากกฎหมาย

                              ในส่วนที่ 1 ของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย มีประเด็นในการ
               พิจารณาตามหลักการในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายฯ โดยจะอยู่ใน
               รูปแบบของค าถาม โดยมีจ านวนทั้งหมด 8 ข้อ โดยแบ่งเป็นสองส่วนย่อย ได้แก่ ส่วนการรายงานส่วนการ

               ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย จะเป็นค าถามในข้อ 1-5 และ ส่วนการรายงานส่วนการวิเคราะห์
               ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย จะเป็นค าถามในข้อ 6-8 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                                     2.2.2.1.1 การรายงานส่วนการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย

                                     มาตรา 12 และมาตรา 17 (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท า
               ร่างกฎหมายฯ ซึ่งก าหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องวิเคราะห์และแสดงข้อมูลเหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรา
               กฎหมายและพิจารณาความซ้ าซ้อนกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยจะเริ่มจากการให้หน่วยงาน (1) ระบุ

               ขอบเขตและสภาพของปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข (2) ก าหนดวัตถุประสงค์ในการแทรกแซง (3) ตรวจสอบว่าใน
               ปัจจุบันมีการด าเนินการเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง (4)  การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และ
               (5) การพิจารณาความซ้ าซ้อนระหว่างมาตรการทางกฎหมายที่จะเสนอขึ้นใหม่และข้อกฎหมายที่มีอยู่แล้วใน
               ปัจจุบัน ซึ่งการส ารวจสิ่งเหล่านี้สามารถกระท าผ่านค าถามข้อที่ 1-5 ดังต่อไปนี้
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225