Page 221 - kpiebook65020
P. 221
182
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ข้อที่ (1) สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบของปัญหา
ข้อที่ (2) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของร่างกฎหมาย
ข้อที่ (3) การแก้ปัญหาในปัจจุบัน
ข้อที่ (4) การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง
ข้อที่ (5) ความสัมพันธ์หรือความใกล้เคียงกับกฎหมายอื่น
2.2.2.1.2 การรายงานส่วนการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเคราะห์เกิดขึ้นจากกฎหมายนั้น เป็นค าถามข้อที่ 6 -
8 ในแบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายมีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานวิเคราะห์และ
คาดการณ์ว่ามาตรการที่จะก าหนดในร่างกฎหมายนั้น จะท าให้เกิดผลกระทบอย่างไร และส่งผลต่อผู้เกี่ยวข้อง
กลุ่มใดบ้าง ตามความในมาตรา 12 และมาตรา 17 (3) - (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่าง
กฎหมายฯ เพื่อให้หน่วยงานผู้จัดท าร่างกฎหมายและหน่วยงานที่จะมีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายสามารถ
เตรียมมาตรการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง หรือเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเป็น
การให้หน่วยงานต้องพิจารณาทบทวนความพร้อมของตนเองในการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถส ารวจผ่านค าถามในข้อที่ 6-8 ดังนี้
ข้อที่ (6) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
ข้อที่ (7) ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไป
ตามกฎหมาย
ข้อที่ (8) ผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
2.2.2.2 การรายงานการตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมาย
ในส่วนที่ 2 ของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย เป็นการ
ตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมาย ให้สอดคล้องกับหลักการของหมวด 3 ของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การ
จัดท าร่างกฎหมายฯ โดยจะพิจารณาเหตุผลความจ าเป็นในการใช้มาตรการก ากับดูแล และการก าหนดโทษ
อาญา ดังนี้ (1) ระบบอนุญาต (2) ระบบคณะกรรมการ (3) การก าหนดโทษอาญา และ (4) การก าหนด
ดุลพินิจในการออกค าสั่งทางปกครองหรือด าเนินกิจการทางปกครอง
หน่วยงานที่ต้องการจะเสนอให้ใช้กลไกข้างต้นในการแก้ปัญหาตามที่ระบุในข้อ 1 ต้องพิจารณา
ไตร่ตรองถึงเหตุผลความจ าเป็นในการใช้มาตรการเหล่านี้ให้ถี่ถ้วนก่อน ว่าจะสามารถท าให้บรรลุวัตถุประสงค์
ของกฎหมายที่ตั้งไว้ได้จริงหรือไม่ เนื่องจากกลไก 4 ประการข้างต้นนี้เป็นมาตรการทางกฎหมายที่พบได้
แพร่หลายในระบบกฎหมายของประเทศไทย และมักจะเป็นมาตรการส าคัญที่สร้างอุปสรรค ภาระ หรือ