Page 91 - kpiebook65020
P. 91
52
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
2.3 หลักเกณฑ์ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่าง
กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
หลักเกณฑ์ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นไปตาม
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ถูกตรา
ขึ้นเพื่อก าหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดท าร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรา 77 และมาตรา 258 ค. ด้าน
กฎหมาย (1) และ (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถท าความ
เข้าใจกับหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้อย่างครบถ้วนและรอบด้าน สมควรที่จะศึกษาถึงแนวคิดเกี่ยวกับการตรวจสอบ
ความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย (Regulatory Impact Assessment หรือ RIA)
ความเป็นมาของการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายของประเทศไทย
และการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและ
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยสามารถอธิบายได้เป็นล าดับตามหัวข้อดังต่อไปนี้ 1.
แนวคิดของ OECD ต่อการพัฒนาการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย
(Regulatory Impact Assessment หรือ RIA) ของประเทศไทย 2. การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
กฎหมายของประเทศไทย และ 3. การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายตามพระราชบัญญัติ
หลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
2.3.1 แนวคิดของ OECD ต่อการพัฒนาการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบใน
การตรากฎหมาย (Regulatory Impact Assessment หรือ RIA) ของประเทศไทย
84
กลุ่มประเทศ OECD เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้ศึกษาและพัฒนาแนวคิดในการตรวจสอบความจ าเป็นและ
การวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย (Regulatory Impact Assessment หรือ RIA) อย่างจริงจัง จน
สามารถออกแนวปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวของตนเองได้ โดยแนวคิดดังกล่าวเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายไป
ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ได้รับเอาแนวคิดของ OECD น ามาใช้เป็นแม่แบบในการก าหนดหลักเกณฑ์
ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายตั้งแต่ปี 2548 โดยในหัวข้อนี้จะได้กล่าวถึงความหมายและ
ความส าคัญของการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย และแนวทางการ
ตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายของประเทศ OECD เพื่อท าความเข้าใจ
ถึงหลักการและแนวทางในการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายที่
ประเทศไทยน ามาใช้เป็นต้นแบบในการด าเนินการในเรื่องดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน
2.3.1.1 ความหมายและความส าคัญของการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์
ผลกระทบในการตรากฎหมาย
การตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย (Regulatory
Impact Assessment หรือ RIA) เป็นกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบและประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะ
84 OECD ประกอบด้วยสมาชิก 36 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐเช็ค เดนมาร์ก
เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลัตเวีย
ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน
สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และ 1 องค์กร คือสหภาพยุโรป นอกจากนี้ OECD ยังร่วมมือและมี
ข้อตกลงต่าง ๆ กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกว่า 70 ประเทศ