Page 179 - kpiebook65064
P. 179

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ   129
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                5.2.3 การขึ้นทะเบียนตำรับยาที่เป็นยาสามัญใหม่ (New Generic Drug)


                                     การขึ้นทะเบียนตำรับยาที่เป็นยาสามัญใหม่ มีขั้นตอนเดียวกับยาใหม่เกือบทุก

                           ขั้นตอน

                                     -  กระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่

                                       กระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่แบ่งออกเป็นสองช่องทางคือ

                                            1. ช่องทางปกติ (Standard Review) ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ

                                               เพื่อพิจารณาสูตร วิธีการผลิต และวิธีการควบคุมคุณภาพยา รวมไปถึง
                                               ฉลาก เอกสารการกำกับยา เป็นด้น โดยช่องทางปกติใช้เวลา 110 วันทำการ
                                               ตามแผนภาพที่ 5.10

                                            2. ช่องทางเร่งด่วน (Accelerated or Priority Review) เป็นการขึ้น

                                               ทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา
                                               สาธารณสุขของประเทศ หรือยารักษาโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โดย

                                               การพิจารณาดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาสูตร วิธีการผลิต และ
                                               วิธีการควบคุมคุณภาพยา รวมไปถึงฉลาก เอกสารการกำกับยา เป็นด้นโดย
                                               ช่องทางพิเศษใช้เวลา 70 วันทำการตามแผนภาพที่ 5.11 2


                                     -  การขึ้นทะเบียนตำรับยาแบบชนิดไม่มีเงื่อนไข

                                        กรณียาสามัญใหม่ บริษัทที่ต้องการผลิตยาชนิดเดียวกันกับยาใหม่ มีข้อกำหนดว่า
                           ยาใหม่ที่เป็นยาต้นแบบจะต้องเป็นชนิดไม่มีเงื่อนไข (ผ่านการประเมิน SMP แล้ว) และบริษัทต้อง

                           ส่งข้อมูลชีวสมมูลของยาที่จะผลิตด้วยตามแผนภาพ 5.10 และ 5.11 เพื่อประเมินก่อนอนุญาต
                           อย่างไรก็ดี พ.ศ. 2544 คณะกรรมการยาได้อนุมัติให้บริษัทที่จะผลิตยาสามัญในประเทศมีสิทธิ
                           ยื่นเสนอการทดสอบชีวสมมูลก่อนยาต้นแบบครบกำหนด SMP ได้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตยา

                           สามัญและผู้บริโภค เนื่องจากทำให้ลดการผูกขาดยาคือเมื่อยาต้นแบบพ้น SMP ผู้ผลิตยาสามัญ
                           ในประเทศก็สามารถผลิตได้ทันที




















                                 2  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (ม.ป.ป.). คู่มือการขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญใหม่ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ
                           วันที่ 3 มีนาคม 2556 จาก http://drug.fda.moph.go.th/zone_service/files/drog(d01-05).pdf




                                                                                                             บทที่ 5
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184