Page 28 - kpiebook65064
P. 28
VIII โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
หน้าที่ตามความเชี่ยวชาญเป็นหลัก การมีเส้นทางการทำงาน (Career path) ที่ชัดเจนและเติบโต
ได้ไม่แพ้กับวิชาชีพอื่น เป็นส่วนหนึ่งเพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรที่มีความสามารถเต็มใจที่จะ
ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้การสร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรีในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับระบบอภิบาลยา
ก็ช่วยให้การบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีกำลังใจในการทำงานก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน
3.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายพื้นฐานต่อภาพรวมของระบบอภิบาลยา
1). ความจำเป็นของการกำหนดทิศทางนโยบายแห่งชาติด้านยา
แม้ปัจจุบันประเทศไทยมีการประกาศใช้นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 และ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 แต่จากการศึกษาพบว่ายังไม่มีการนำ
นโยบายไปปฏิบัติที่ชัดเจนและมีข้อโต้เถียงถึงแนวนโยบายดังกล่าวจากบางฝ่าย อย่างไรก็ตาม
คณะผู้วิจัยเห็นว่าการมีทิศทางนโยบายแห่งชาติด้านยาที่ชัดเจนจะเป็นส่วนสำคัญที่กำหนด
บทบาทขององค์กรและกระบวนการทำงานภายในระบบอภิบาลยาในทุกขั้นตอน ให้มีทิศทาง
ชัดเจนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เป็นสำคัญ คณะผู้วิจัยเห็นว่าหลักสำคัญในการวางเป้าหมายและ
ทิศทางของระบบอภิบาลยา คือ คุณลักษณะ ความพร้อม และความต้องการด้านยาของประเทศ
โดย Seiter (2010) เสนอหลักสำคัญของการวางเป้าหมายนโยบายในสามระดับคือ
- เป้าหมายของประเทศที่มีรายได้สูง มีเป้าหมายที่ให้ความสำคัญให้ประชาชนเข้าถึง
ยานวัตกรรม และการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพกับต้นทุนสูงภายใต้ระบบประกัน
สุขภาพที่จะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ รวมไปถึงรักษาแรงจูงใจทางเศรษฐกิจให้เกิด
การวิจัยและพัฒนายาใหม่ ๆ ต่ออุตสาหกรรมยาที่เน้นการวิจัยและพัฒนาของประเทศ
- เป้าหมายของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนคนยากจน
สามารถเข้าถึงยาได้ในโครงการสุขภาพขั้นพื้นฐานสำหรับคนยากจน อย่างไรก็ตาม
ประเทศกำลังพัฒนาต้องให้ความสำคัญต่อความต้องการของประชาชนที่มีฐานะใน
เขตเมืองที่ต้องการเข้าถึงยาที่มีคุณภาพได้อย่างกว้างขวางและมากกว่ายาจำเป็นอีกด้วย
ความต้องการต่อยานวัตกรรมหรือยาที่มีราคาสูงจำเป็นต้องมีการจัดสมดุลและ
ชั่งน้ำหนักกับข้อจำกัดทางการคลังและงบประมาณของประเทศหรือระบบประกัน
สุขภาพ รวมถึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยาสามัญภายในประเทศและ
รับมือกับแรงกดดันจากบริษัทยาข้ามชาติ
- เป้าหมายของประเทศที่มีรายได้ต่ำ มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนของประเทศสามารถ
เข้าถึงยาจำเป็นเพื่อบรรลุเป้าหมายของการสาธารณสุขของประเทศเป็นสำคัญ เช่น
การลดการตายในวัยเยาว์ การลดการเสียชีวิตจาก HIVs มาลาเรีย เป็นต้น
1
1 Seiter, Andreas. (2010). A practical approach to pharmaceutical policy. Washington DC: World
Bank, p. 1-3.
บทสรุปผู้บริหาร
สถาบันพระปกเกล้า