Page 320 - kpiebook65064
P. 320

270           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                              ในกรณีการถอนยากลูโคซามีนในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมออกจากบัญชียาหลัก

                   แห่งชาติ ในเวลาต่อมาได้สร้างข้อโต้แย้งทางวิชาการเกี่ยวกับประสิทธิผลในการรักษาและต้นทุนทาง
                   เศรษฐศาสตร์ อาทิ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เป็นองค์กรวิชาการของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน

                   กระดูกและข้อ เพราะเป็นการถอนยาออกโดยไม่มีเหตุผลทางวิชาการที่ชัดเจนและมีผลการวิจัย
                   ที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไปอ้างผลการวิจัยของ “กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์” ซึ่งเป็น “อาหารเสริม”
                   แต่ยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้แก่ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม คือ “กลูโคซามีนซัลเฟต” ซึ่งเป็นอนุมูลคนละตัว

                   ขณะที่ คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการพิจารณาแล้วมีความเห็น
                   ตรงข้ามกับทัศนะของราชวิทยาลัยโดยมองว่า 1) ยากลูโคซามีนเป็นยาที่คณะอนุกรรมการพัฒนา

                   บัญชียาหลักแห่งชาติไม่คัดเลือกบรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ 2) เอกสารวิชาการที่ราชวิทยาลัย
                   แพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยจัดส่งมา ไม่มีข้อมูลใหม่ที่สามารถหักล้างเอกสารงานวิจัยและ
                   ข้อสรุปของคณะทำงานวิชาการทางการแพทย์ และ 3) ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ได้ศึกษา

                   ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยากลูโคซามีนแล้วพบว่า มีต้นทุนอรรถประโยชน์สูงกว่า 3 เท่า
                   ของรายได้ประชากรไทยต่อคนต่อปี จึงไม่มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย  51

                         7.3.3 ความเสี่ยงอันเกิดจากการมีส่วนได้ส่วนเสียของคณะกรรมการ

                   (Conflict of Interest - COI)


                              แม้ว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ

                   พ.ศ. 2551 จะไม่ได้ระบุถึงการประกาศการมีส่วนได้ส่วนเสียของคณะกรรมการ แต่ในทางปฏิบัติ
                   สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกคู่มือการแสดงความไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
                   ที่กำหนดให้แสดงความไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงให้มีการทวนสอบความไม่มีส่วนได้

                   ส่วนเสียให้เป็นปัจจุบันก่อนเริ่มการประชุมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ และคณะกรรมการพัฒนา
                   ระบบยาแห่งชาติได้มีการประกาศหลักการและแนวปฏิบัติของคณะอนุกรรมการภายใต้

                   คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติใน พ.ศ. 2555 ระบุแนวปฏิบัติแสดงการมีส่วนได้ส่วนเสีย
                   ของกรรมการชุดต่าง ๆ แต่การบังคับใช้ COI ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของประธานคณะกรรมการ



                         51  เชิดชู อริยศรีวัฒนา. (11 มีนาคม 2555). “รัฐบาลควรทบทวนรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติโดยด่วน,” ไทย
                   พับลิก้า [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2556 จาก http://thaipublica.org/2012/03/government-should-review-
                   national-essential-drugs-immediately/
                           ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (7 พฤศจิกายน 2555). คลังถอย! สั่งชะลอถอน “กลูโคซามีน” จากระบบเบิก ขรก
                   [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2556จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=
                   9550000136222
                           ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (9 ตุลาคม 2555). คลังสั่งถอน “กลูโคซามีนซัลเฟต” จากระบบเบิกค่ายา ขรก [ออน
                   ไลน์].  สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2556 จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=
                   9550000123762 หรือดูข้อเสนอสำหรับการถอนยากลูโคซามีนใน คณะทำงานวิชาการทางการแพทย์ ภายใต้คณะกรรมการ
                   บริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2554). เอกสารสรุปประเด็นข้อเท็จจริง
                   และข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับกลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต ไดอะเซอเรน และไฮยาลูโรแนนชนิดฉีดเข้าข้อ.
                   กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.





                   บทที่ 7
                   สถาบันพระปกเกล้า
   315   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325