Page 323 - kpiebook65064
P. 323
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 273
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติมักเกิดความขัดแย้งระหว่างภาคเอกชนและ
คณะกรรมการชุดต่าง ๆ เนื่องจากการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกยาหรือผลการคัดเลือกยาในบัญชี
ยาหลักแห่งชาติส่งผลกระทบต่อภาคเอกชนทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ เพราะการนำยาเข้าสู่บัญชียา
หลักแห่งชาติส่งผลกระทบต่อการขายยาของบริษัท จากเดิมที่บัญชียาหลักแห่งชาติ “ยังไม่ติด
ตลาด” ต่อมากลับได้รับความสนใจจากภาคเอกชน เนื่องจากบัญชียาหลักแห่งชาติถูกผูกกับกองทุน
ประกันสุขภาพทั้งโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โครงการหลักประกันสังคม และสวัสดิการ
ของข้าราชการที่กำหนดให้เบิกจ่ายยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำให้มีการใช้ยาในบัญชียาหลัก
แห่งชาติมากขึ้นจากเดิมที่เป็นรายการยาจำเป็น (Essential Drug List) สำหรับสถานพยาบาล
เพียงอย่างเดียว ภาคเอกชนพยายามผลักดันยาของตนเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติหรือกระตุ้นให้เกิด
59
การใช้ยาที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของฝ่ายเอกชน แต่ในอีกด้าน ภาคเอกชนก็ได้รับผลกระทบ
และมีข้อโต้แย้งต่อการกำหนดนโยบายการคัดเลือกบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น การกำหนดจำนวน
ยาที่เหมาะสมในบัญชี การกำหนดสัดส่วนของยาสามัญและยาต้นแบบ การกำหนดให้ใช้ยาสามัญ
เป็นลำดับแรก การใช้เกณฑ์ด้านราคาเพื่อการพิจารณา รวมไปถึงการนำบัญชียาหลักแห่งชาติ
มาเป็นหลักในการกำหนดสิทธิประโยชน์ในกองทุนประกันสุขภาพของรัฐ 60
ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเอกชนต่อการทำงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชี
ยาหลักแห่งชาติที่ส่งผลกระทบต่อฝ่ายเอกชนก็ปรากฏอยู่ ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งยกตัวอย่างกรณี
ยา Bevacizumab ที่บริษัทยาขึ้นทะเบียนว่าให้เป็นยารักษาโรคมะเร็ง แต่ยาตัวเดียวกันสามารถ
รักษาโรคตาได้ โดยเป็นยาฉีดเข็มละ 40,000 บาท จักษุแพทย์จึงเอามาแบ่งรักษาได้เข็มละประมาณ
40-80 รายตามความสามารถของจักษุแพทย์ ทำให้ราคาการรักษาแทนที่จะฉีดเข็มละ 40,000 บาท
ราคาจึงตกมาเหลือเพียง 500-1,000 บาท ต่อคนเท่านั้น ทำให้บริษัทยาไม่พอใจเพราะบริษัทยาขึ้น
ทะเบียนเป็นยามะเร็งและไม่ยอมขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาตาเพื่อให้ได้ราคาถูก และถ้าจะไปใช้รักษา
ตาก็ต้องใช้ทั้งเข็มซึ่งไม่สมเหตุผล โดยยาตัวนี้ทาง อย. ขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาโรคมะเร็งไม่ได้
รักษาโรคตา แต่จักษุแพทย์ยืนยันว่ารักษาโรคตาได้ จึงนำยาตัวนี้ขึ้นในบัญชียาหลักแห่งชาติว่าเป็น
ยารักษาโรคตา ทำให้บริษัทยาขู่ว่าจะฟ้องเพราะเป็นการใช้ยาที่นอกเหนือจากที่ระบุในฉลากยา
61
ในขณะที่ภาคเอกชนกลับแสดงความวิตกกังวลต่อการคัดเลือกยาดังกล่าว เนื่องจากเป็นการคัด
เลือกโดยมิได้มีการผ่านการตรวจสอบข้อบ่งชี้ในการใช้โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ทำให้ไม่แน่ใจถึงมาตรฐานในการคัดเลือกยาของคณะอนุกรรมการฯ และเป็นการข้ามขั้นตอน
การพิจารณาขึ้นทะเบียนตำรับยา จนอาจเป็นบรรทัดฐานในอนาคตททำให้ยาที่ได้รับคัดเลือกเข้าสู่
บัญชียาหลักแห่งชาติอาจไม่สอดคล้องกับข้อบ่งชี้ของยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. จนทำให้
ยาที่ได้รับการคัดเลือกอาจไม่จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาทะเบียนตำรับยาจาก อย. 62
59 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ A,วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556. ผู้ให้สัมภาษณ์ B, วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และ
ผู้ให้สัมภาษณ์ D, วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556
60 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ O และ P, วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
61 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ B, วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556
62 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ O และ P, วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
บทที่ 7
สถาบันพระปกเกล้า