Page 324 - kpiebook65064
P. 324
274 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
นอกจากนี้ เกิดข้อโต้แย้งถึงบทบาทของภาคเอกชนในการผลักดันยาเข้าสู่บัญชียาหลัก
แห่งชาติทางอ้อมผ่านการส่งเสริมการขายต่อบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากบางฝ่ายมองว่าการ
นำยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติที่ใช้ในกองทุนสุขภาพทั้งสามกองทุน จะกระทบต่อยอดขายยาของ
บริษัทยา จึงมีแนวโน้มที่บริษัทยาพยายามผลักดันให้ยาของตนเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติผ่าน
คณะกรรมการชุดต่าง ๆ อาทิ การผลักดันยาใหม่หรือยาต้นแบบ (Original Drug) เนื่องจากกลุ่ม
ธุรกิจยาโดยเฉพาะบริษัทยาข้ามชาติไม่ค่อยชอบแนวคิดบัญชียาหลักแห่งชาติที่ให้ความสำคัญ
และพิจารณาถึงต้นทุนของยาที่จะนำเข้ามาในบัญชีทำให้ยาต้นแบบเป็นยาใหม่ที่มีราคาแพงมาก
จึงไม่ค่อยมีโอกาสเข้าไปอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และมีความพยายามวิ่งเต้นเพื่อผลักดันยาเข้าสู่
ระบบบัญชียาหลักแห่งชาติหรือการส่งเสริมการขายกับแพทย์ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ให้เกิดความ
เชื่อมั่นต่อยาเหล่านี้เพื่อปูทางในการผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ นอกจากนี้ บริษัทยา
ยังสามารถทำการตลาดโดยการสร้างมูลค่าและภาพลักษณ์ว่าเป็นยาดี และถ้ายาตัวนั้นไม่ได้อยู่ใน
บัญชียาหลักแต่แพทย์มีการสั่งใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะกลายเป็นประเด็นขึ้นมาว่า ยาตัวนี้ทำไมมีการ
ใช้เยอะ มีความสำคัญ แต่ทำไมไม่อยู่ในบัญชียาหลัก เท่ากับเป็นการกดดันทางอ้อมให้กรรมการ
63
ต้องพิจารณาว่าเป็นยาที่ถูกทำการตลาดนี้มีความจำเป็นจริงหรือไม่ ในขณะที่ภาคเอกชนมองว่า
บัญชียาหลักแห่งชาติควรพิจารณาในมิติความจำเป็นและประสิทธิภาพของยาใหม่ที่ถูกพัฒนาและ
ได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้ยา ยาใหม่ที่ผลิตออกมาหลายกรณีได้ลดผลข้างเคียงของการใช้ยาและ
มีประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อเทียบกับยาที่มีอยู่เดิม อีกทั้ง แพทย์ผู้ใช้ยาก็มีดุลพินิจในการเลือกใช้ยาให้
สอดคล้องกับการรักษาผู้ป่วยซึ่งหมายความว่ายาที่แพทย์เห็นว่าเหมาะสมอาจเป็นยาที่อยู่ในบัญชี
ยาหลักแห่งชาติหรืออยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติก็ได้ การปิดโอกาสของการนำเข้ายาใหม่โดยให้
เหตุผลต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์อาจไม่สามารถใช้ได้ในบางกรณี (เช่น ยาใหม่บางประเภทอาจมี
คนใช้น้อย ดังนั้น การนำยาใหม่เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติอาจส่งผลต่อต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
ไม่มากนัก) ส่วนการส่งเสริมการขายแม้อาจจูงใจให้เกิดการใช้ยาก็จริง แต่การตัดสินใจในเรื่อง
การใช้ยาหรือการพิจารณาคัดเลือกยังเป็นของผู้เชี่ยวชาญ 64
7.3.5 ความเสี่ยงอันเกิดจากการขาดการระบุความรับผิดรับชอบ
(Accountability) ของคณะกรรมการฯ ในกรณีที่เกิดความผิดพลาด
ปัญหาการขาดการระบุความรับผิดชอบเมื่อเกิดปัญหาขึ้นเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจาก
ยังไม่มีมาตรการใด ๆ ที่ระบุถึงความรับผิดชอบหรือมาตรการลงโทษต่อคณะกรรมการฯ ชุดต่าง ๆ
เมื่อเกิดปัญหาจากการคัดเลือกยา เช่น การวางข้อบังคับหรือแนวทางทึ่ควรปฏิบัติด้วยความ
ระมัดระวัง (duty of care) ในกรณีที่คณะกรรมการฯ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถ้าปฏิบัติตาม
63 ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (11 ธันวาคม 2555). เปิดศึกบัญชียาหลัก: ใครได้ประโยชน์ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2556 จากhttp://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000150306
64 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ O และ P, วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และสัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ L,วันที่ 27
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บทที่ 7
สถาบันพระปกเกล้า