Page 325 - kpiebook65064
P. 325
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 275
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
แนวทางและขั้นตอนการทำงานดังกล่าวแล้วเกิดข้อผิดพลาดถือว่าไม่ต้องได้รับโทษ เป็นต้น
ข้อถกเถียงดังกล่าว แพทย์ในสถานพยาบาลที่เป็นผู้ใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ มองว่าถ้ามีกรณี
ที่เกิดข้อผิดพลาดหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ผู้ที่ต้องรับความ
เสี่ยงในเรื่องนี้เป็นกลุ่มแรกคือแพทย์ผู้ใช้ยา แพทย์บางท่านเห็นว่าการใช้ยาตามบัญชียาหลัก
แห่งชาติบางชนิดอาจทำให้ไม่สามารถบำบัดหรือรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ให้สัมภาษณ์
บางท่านเห็นว่าความผิดพลาดของยาที่เกิดจากการคัดเลือกยา คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการ
คัดเลือกกลับไม่ต้องรับผิดรับชอบแต่แพทย์ผู้ใช้ยาต้องเป็นผู้รับผิดชอบเป็นกลุ่มแรก
65
7.3.6 ความเสี่ยงอันเกิดจากการกำหนดกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ใช้เป็น
เกณฑ์เปรียบเทียบประสิทธิผลยาและต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
การกำหนดเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นหน้าที่ของ
คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติก็ได้วางหลักการและเกณฑ์ในการพัฒนาบัญชียาหลัก
แห่งชาติ รวมถึงใช้เกณฑ์การวัดต้นทุนและประสิทธิภาพของยา อาทิ ISafE Score และ Essential
Medical Cost Index (EMCI) ในการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักตั้งแต่ พ.ศ. 2547 และคู่มือ
การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทยโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลัก
แห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นแนวทางของการประเมินยาให้มีประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหา
การครอบงำทางความคิดและการใช้ดุลพินิจจากผู้เชี่ยวชาญในคณะทำงาน เพื่อให้การตัดสินใจอยู่
บนหลักฐานที่จับต้องได้ (Evidence-Base) ผู้ให้ข้อมูลบางท่านเห็นว่าด้วยหลักเกณฑ์และแนวทางที่
66
เป็นอยู่ค่อนข้างมีการวางระบบที่มีประสิทธิภาพ จากการสำรวจความคิดเห็นต่อภาพรวมของการ
คัดเลือกยา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งสามกลุ่มได้ให้ค่าคะแนนในด้านกระบวนการและข้อมูลค่อน
ที่ค่าเฉลี่ย 7.93 และส่วนองค์ประกอบของธรรมาภิบาลได้ให้ค่าคะแนนความมีประสิทธิภาพ
(Efficiency) ทั้งค่าเฉลี่ย 7.03 ถือได้ว่าอยู่ในระดับน่าพึงพอใจ
อย่างไรก็ตาม การกำหนดหลักเกณฑ์และปรัชญาในการคัดเลือกยาบางด้านยังมีข้อถก
เถียงเกี่ยวกับการสร้างความสมดุลระหว่างการคัดเลือกยาตามหลักประสิทธิผลของยาและด้านราคา
กับต้นทุนตามหลักเศรษฐศาสตร์ เช่น การกำหนดให้คัดเลือกยาสามัญที่ผลิตในประเทศ ฝ่าย
ผู้เชี่ยวชาญบางท่านไม่ค่อยมีความไว้วางในในคุณภาพยาตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีการควบคุม
กระบวนการผลิตที่ดี (GMP) เพียงพอก็ยากที่จะไว้วางใจได้ หรือยาที่เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ
บางชนิดไม่ใช่ยาที่ทางฝ่ายผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเห็นว่ามีความเหมาะสม เนื่องจากต้องเอาปัจจัย
ด้านเศรษฐศาสตร์มาพิจารณาร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น ยาที่มีความเหมาะสมบางชนิดเป็นยาต้นแบบ
(Original Drug) ที่แม้จะมีประสิทธิภาพในการรักษาดีที่สุดแต่มีราคาสูงทำให้มีโอกาสยากที่จะนำยา
เข้าไปได้ นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ให้ความเห็นเพิ่มว่ามียาชนิดหนึ่งที่เขาเคยต่อรองให้นำเข้ามา
ในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อแทนที่ยาเดิมในบัญชีที่ขาดประสิทธิภาพ และต่อรองกับบริษัทเอกชนจน
สามารถลดราคายาได้ถึงกึ่งหนึ่ง แต่กลับไม่ได้รับการคัดเลือกเนื่องจากราคาที่ได้ยังสูงกว่าราคาของ
65 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ L, วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บทที่ 7
สถาบันพระปกเกล้า