Page 154 - kpi12626
P. 154
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1 3
การดำเนินการในเรื่องนี้อาจอยู่ในรูปของคณะกรรมการไตรภาคีจาก
ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ส่วนราชการที่รับผิดชอบดูแลองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจมีผู้แทน
จากภาควิชาการร่วมกันวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ด้านการเงิน
การคลังท้องถิ่นจากข้อมูลรายงานฐานะทางการเงินที่ได้จัดทำขึ้นในขั้นตอน
แรก แล้วจึงพัฒนาเป็นแนวนโยบายบริหารงานคลังท้องถิ่นเพื่อช่วย คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
เสนอแนะทิศทางที่ชัดเจนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหาร
การเงินการคลังและการจัดบริการสาธารณะที่เหมาะสมกับสถานการณ์
บริบทแวดล้อมต่อไป หากเราสามารถพัฒนาระบบกำกับดูแลการบริหาร
การเงินการบัญชีท้องถิ่น (LFMS) ที่สามารถให้ข้อมูลต่างๆ ที่มีประสิทธิผล
เพียงพอและทันต่อเหตุการณ์ได้แล้วนั้น เชื่อได้ว่าจะนำไปสู่การบริหาร
การเงินการคลังท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ตัวอย่างแนวทางการ
ส่งสัญญาณ ในการบริหารการเงินการคลังและการจัดบริการสาธารณะของ
ท้องถิ่นจากระบบข้อมูลฐานะทางการเงินแสดงได้ดังตารางที่ 8-1 ข้างต้น
8.2.2 การส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนากรอบการ
ก่อหนี้ของท้องถิ่น
ผู้เขียนเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยควรได้รับการ
พัฒนาศักยภาพด้านการเงินการคลังเพิ่มขึ้นหลายประการ โดยเฉพาะการ
เพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการคลังโดยการเพิ่มสัดส่วน
การจัดหารายได้จากท้องถิ่น การเพิ่มความสามารถในการพัฒนาโครงการ
เพื่อการลงทุนพัฒนาเมือง-ชุมชน และการเพิ่มความสามารถทางการเงินใน
ระยะยาวผ่านตลาดเงินตลาดทุน (การก่อหนี้หรือการออกพันธบัตร)
ในประเด็นนี้ ควรส่งเสริมการบริหารงานคลังท้องถิ่นในเชิงรุก ส่งเสริม
แนวคิดในการพัฒนาเมืองทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และกายภาพ อีกทั้ง
ควรส่งเสริมช่องทางการเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่นและขีดความสามารถใน
การให้บริการสาธารณะโดยการก่อหนี้เพื่อการลงทุน (debt financing)