Page 155 - kpi12626
P. 155
1 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ปัจจุบัน แม้กฎหมายที่เกี่ยวข้องจะให้อำนาจแก่ท้องถิ่นใน
การก่อหนี้ได้ก็ตาม แต่กฎระเบียบดังกล่าวมักกำหนดเพียงขั้นตอนและผู้มี
29
อำนาจในการอนุมัติการก่อหนี้ระยะยาวขององค์กรปกครองท้องถิ่นเป็น
สำคัญ มิได้มีการวางแผนหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมการก่อหนี้เพื่อ
การลงทุนให้กับองค์กรปกครองท้องถิ่นเท่าใดนัก ผู้บริหารท้องถิ่นจำนวน
มากจึงขาดความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมและนำไปสู่การขาดแรงจูงใจใน
การก่อหนี้เพื่อการลงทุนในระดับที่ควรจะเป็นสำหรับการพัฒนาเมืองและ
ชุมชน ในการนี้ จึงควรส่งเสริมให้มีการพัฒนา “แนวทางการลงทุนและ
การก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (debt financing
framework)” และรวมถึงการฝึกอบรมทักษะผู้บริหารท้องถิ่นให้มี
แนวคิดการทำงานในเชิงรุกและมีทัศนคติที่ถูกต้องในการเพิ่มขีด
ความสามารถทางการเงิน (financial leverage) ขององค์กรผ่านการ
ก่อหนี้ในตลาดเงินหรือตลาดทุนตามความจำเป็น มาตรการเหล่านี้ย่อม
ช่วยให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการ
ลงทุนและการระดมทรัพยากรจากตลาดเงินหรือตลาดทุนมากขึ้น ซึ่งอาจมี
ส่วนส่งเสริมให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีความกล้าที่จะคิดริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ที่
จำเป็นต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น
ในประเด็นนี้ หน่วยงานส่วนกลาง อาทิ รัฐบาล กระทรวง
มหาดไทย และกระทรวงการคลังควรร่วมกันพัฒนาแนวทางการลงทุนและ
กรอบการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น และควรปรับเปลี่ยน
ฐานคิดไปในทิศทางที่ช่วยกระตุ้นการก่อหนี้สาธารณะเพื่อการลงทุนพัฒนา
ท้องถิ่นให้มากขึ้น จากเดิมที่ส่วนราชการเหล่านี้มุ่งเน้นเพียงเฉพาะการ
ควบคุมที่เข้มงวดก่อนการก่อหนี้ (ex ante) มาสู่การกำหนดมาตรการส่งเสริม
29 อาทิ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2549) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น พ.ศ.2547 หรือระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหาร
ราชการส่วนท้องถิ่น แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2553