Page 119 - kpi15428
P. 119
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ในมาตรา 46
56 79 และ 290 ซึ่งจะกล่าวถึงในรายละเอียดของเนื้อหาส่วนถัดไป
v สภาพแวดล้อมและพัฒนาการทางนโยบาย
ในช่วง พ.ศ.2475 – 2539
ทิศทางนโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ.2475 – 2539 หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ
แล้ว ในช่วงดังกล่าวรัฐไทยให้ความสำคัญกับสิทธิในระดับบุคคลและยังไม่มี
การรับรองสิทธิของชุมชน แม้จะมีรัฐธรรมนูญบางฉบับที่ดูจะเปิดโอกาสให้
สิทธิกับกลุ่มบุคคลก็เป็นสิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ที่เป็นไปตาม
กฎหมายกำหนด อีกทั้ง ในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเอง
ก็แสดงให้เห็นความห่วงกังวลของรัฐต่อประเด็นดังกล่าวในรัฐธรรมนูญ
บางฉบับ โดยรัฐเป็นผู้มีบทบาทหลักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาแนวนโยบายจากคำแถลงนโยบาย
ของรัฐบาลที่ผ่านมา ทิศทางนโยบายที่เอื้อต่อการส่งเสริมสิทธิชุมชน
พอมีอยู่บ้างแต่ไม่ได้เป็นการเปิดโอกาสหรือรับรองสิทธิชุมชนโดยตรง ได้แก่
การพยายามกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นซึ่งอาจเป็นผลให้ชุมชนได้มีโอกาส
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง การพยายาม
สร้างความเป็นอยู่ที่ดี ความเข้มแข็งของคนในชุมชนด้วยการส่งเสริม
การเกษตร ที่ดินทำกิน การชลประทาน ความพยายามพัฒนาเมืองและ
ชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ในทำนอง
เดียวกัน เมื่อพิจารณากฎหมายเกี่ยวข้องที่ได้มีการนำมาใช้ในช่วงนี้
มีลักษณะแบ่งตามทรัพยากรและมีแนวโน้มควบคุมจำกัดการใช้โดยรัฐเป็น
ผู้ตัดสินให้บุคคลหรือนิติบุคคลมีสิทธิใช้และจ่ายค่าใช้ทรัพยากรนั้นในรูปของ
ค่าภาคหลวงการทำสัมปทานหรือเสียภาษี
รูปแบบนโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ.2475 – 2539 ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่ามี
111