Page 120 - kpi15428
P. 120
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ลักษณะปิด รัฐเป็นเจ้าภาพหลัก ซึ่งผู้เขียนวิเคราะห์ว่าสภาพแวดล้อมทาง
เศรษฐกิจ การเมือง และบริบทระหว่างประเทศเป็นปัจจัยต่อการดำเนิน
นโยบายของรัฐในช่วงนี้ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจไทยเป็นแบบทุนนิยม
ดังที่มานิต จุมปา (ม.ป.ป.) ได้กล่าวไว้ว่าไทยได้รับผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบเศรษฐกิจแบบยังชีพเป็นแบบพาณิชย์หรือทุนนิยม
ซึ่งเป็นผลมาจากสนธิสัญญาเบาริ่งในปี พ.ศ.2393 ทำให้รัฐเร่งการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เพื่อเพิ่มรายได้และลดการนำเข้าวัตถุดิบ แต่เมื่อ
พิจารณาสภาพแวดล้อมทางการเมืองจะเห็นได้ว่าในช่วงตอนต้น การเมืองไทย
อยู่ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระกษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ทำให้การ
ดำเนินนโยบายนี้ต้องเน้นความเป็นปึกแผ่น รวมอำนาจ เป็นหนึ่งเดียว
ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รัฐออกกฎหมายเพื่อจัดสรรและควบคุม
ออกมามาก เช่น พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2481 ทำให้บุคคลเพียงบางกลุ่ม
สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้โดยรัฐเก็บภาษีหรือค่าภาคหลวง
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาสภาพแวดล้อมทางสังคมในช่วงนี้ มีอัตรา
ประชากรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง ซึ่งเป็นผลให้เกิดการบริโภคสูงขึ้น และส่งผล
ต่อเนื่องต่อการรุกล้ำทรัพยากรธรรมชาติทำให้ทิศทางนโยบายของรัฐแม้จะมี
การส่งเสริมให้ใช้ทรัพยากรในประเทศแทนวัตถุดิบนำเข้า แต่ในขณะเดียวกัน
ก็หวงห้ามการใช้จากกลุ่มบุคคลอื่นๆที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งชุมชนในขณะนั้น
ก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่รัฐหวงห้ามการใช้ทรัพยากรเพราะชุมชนไม่ได้มีสิทธิตาม
กฎหมาย (De jure right)
ในทางตรงกันข้าม การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองประเทศ
เป็นประชาธิปไตยเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รัฐไม่อาจละเลยต่อประเด็นการมี
ส่วนร่วมและการกระจายอำนาจ รัฐจึงพยายามกระจายอำนาจบางประการ
แต่ยังจำกัดให้กับสถาบันหรือองค์กรที่เป็นนิติบุคคล การกระจายอำนาจ
เริ่มถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับ พ.ศ.2517 ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดี
11